[Font : 15 ]
| |
อนุสัยทั้ง 3 เกิดได้ แม้เมื่อเสวยทุกขเวทนา |  

ภิกษุ ท.! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ก็เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง. แม้อริยสาวกผู้มีการสดับ ก็เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง. ภิกษุ ท .! เมื่อเป็นเช่นนั้น ในระหว่างอริยสาวกผู้มีการสดับ กับบุถุชนผู้ไม่มีการสดับดังที่กล่าวมานี้ อะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกัน อะไรเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน อะไรเป็นเหตุที่แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้มีการสดับ จากบุถุชนผู้ไม่มีการสดับ?

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเองเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมเศร้าโศก ย่อมกระวนกระวาย ย่อมร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ถึงความมีสติฟั่นเฟือน; เขาย่อมเสวยซึ่งเวทนาทั้ง 2 ฝ่าย คือเวทนาทั้งทางกายและทางจิต

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนบุรุษพึงยิงบุรุษด้วยลูกศร แล้วพึงยิงซ้ำ ซึ่งบุรุษนั้นด้วยลูกศรที่สองอีก บุรุษผู้ถูกยิงด้วยลูกศรสองลูกอย่างนี้ ย่อมเสวยเวทนาทางกายด้วย ทางจิตด้วย, แม้ฉันใด; ภิกษุ ท.! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ก็เป็นฉันนั้น คือ เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมเศร้าโศก ย่อมกระวนกระวาย ย่อมร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ถึงความมีสิติฟั่นเฟือนอยู่; ชื่อว่าเขาย่อมเสวยซึ่งเวทนาทั้ง 2 อย่าง คือทั้งทางกายและทางจิต. เขาเป็นผู้มีปฏิฆะเพราะทุกขเวทนานั้นนั่นเอง. ปฏิหานุสัยอันใด อันเกิดจากทุกขเวทนา, ปฏิฆานุสัยอันนั้น ก็ย่อมนอนตามซึ่งบุถุชนนั้นผู้มีปฏิฆะด้วยทุกขเวทนา. บุถุชน นั้นอันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมจะ (น้อมนึก) พอใจซึ่งกามสุข. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ภิกษุ ท.! ข้อนั้นเพ ราะเหตุว่า บุถุชนผู้ไม่มีการสดับย่อมไม่รู้ชัดอุบายเครื่องปลดเปลื้องซึ่งทุกขเวทนา อื่นนอกไปจากกามสุข. เมื่อบุถุชนนั้น พอใจยิ่งอยู่ซึ่งกามสุข, ราคานุสัยอันใดอันเกิดจาสุขเวทนา, ราคานุสัยอันนั้น ย่อมนอนตามซึ่งบุถุชนนั้น. บุถุชนนั้น ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลาเหล่านั้น ตามที่เป็นจริง, เมื่อบุถุชนนั้น ไม่รู้ชัดอยู่ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็นจริงอยู่. อวิชชานุสัยอันใด อันเกิดจากอทุกขมสุขเวทนา, อวิชชานุสัยอันนั้น ย่อมนอนตามซึ่งบุถุชนนั้น. บุถุชนนั้น ถ้าเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ติดพัน (ในเวทนา) เสวยเวทนานั้น; ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น; ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น.

ภิกษุ ท.! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ติดพันแล้ว ด้วยชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย; เรากล่าวว่าเป็นผู้ติดพันแล้วด้วยทุกข์ ดังนี้.

- สฬา. สํ. 18/257-258/369-370.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง