[Font : 15 ]
| |
ทรงแสดงหลักกรรมชนิดที่เป็น "พุทธศาสนาแท้" |  

ปุณณะ! กรรม 4 อย่างเหล่านี้ เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน. กรรม 4 คืออะไรเล่า?

ปุณณะ! กรรมดำ มีวิบากดำ ก็มีอยู่; ปุณณะ! กรรมขาว มีวิบากขาว ก็มีอยู่; ปุณณะ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ก็มีอยู่; ปุณณะ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ก็มีอยู่.

ปุณณะ! ___คนบางคนในกรณีนี้ ย่อมปรุงแต่งซึ่งกายสังขาร ___วจีสัง-ขาร ___มโนสังขาร อันเป็นไปเพื่อทุกข์ แล้วย่อมเข้าถึงซึ่งโลกอันประกอบด้วยทุกข์ถูกต้องผัสสะอันประกอบด้วยทุกข์ ________ย่อมเสวยเวทนาอันประกอบด้วยทุกข์โดยส่วนเดียว ดังเช่นพวกสัตว์นรก ___ฯลฯ___ : ปุณณะ! นี้เรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ.

ปุณณะ! ___คนบางคนในกรณีนี้ ย่อมปรุงแต่งซึ่งกายสังขาร ___วจี-สังขาร ___มโนสังขาร อันไม่เป็นไปเพื่อทุกข์ แล้วย่อมเข้าถึงซึ่งโลกอันไม่ประกอบด้วยทุกข์ ถูกต้องผัสสะอันไม่ประกอบด้วยทุกข์ ______ย่อมเสวยเวทนาอันประกอบด้วยสุขโดยส่วนเดียว ดังเช่นพวกเทพสุภกิณหา ___ฯลฯ___ : ปุณณะ! นี้เรียกว่า กรรมขาว มีวิบากขาว.

ปุณณะ! ___คนบางคนในกรณีนี้ ย่อมปรุงแต่งซึ่งกายสังขาร ___วจี-สังขาร ___มโนสังขาร อันเป็นไปเพื่อทุกข์บ้าง อันไม่เป็นไปเพื่อทุกข์บ้าง แล้วย่อมเข้าถึงซึ่งโลกอันประกอบด้วยทุกข์บ้าง อันไม่ประกอบด้วยทุกข์บ้าง ถูกต้องผัสสะอันประกอบด้วยทุกข์บ้าง อันไม่ประกอบด้วยทุกข์บ้าง ___ย่อมเสวยเวทนาอันเป็นสุขและทุกข์เจือกัน ดังเช่นพวกมนุษย์ พวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก___ฯลฯ___ : ปุณณะ! นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว.

ปุณณะ! ___ในกรณีนี้ เจตนาเพื่อละเสียซึ่งกรรมดำมีวิบากดำ,เจตนาเพื่อละเสียซึ่งกรรมขาวมีวิบากขาว, เจตนาเพื่อละเสียซึ่งกรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว : ปุณณะ! (3 อย่าง) นี้ เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.

ปุณณะ! เหล่านี้แล กรรม 4 อย่าง ที่เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้รู้ทั่วกัน.

หมายเหตุ : เรื่องกรรม 4 นี้ มีที่มาในที่อื่นอีกหลายแห่ง มีรายละเอียดตรงกันก็มี ต่างกันก็มี: ในจตุกฺก. อํ. 21/313/232 และ 21/313/234 มีข้อความเหมือนกับข้อความข้างบนนี้ทั้ง 4 กรรม; ในจตุกฺก. อํ. 21/318/235 ทรงแสดงกรรมดำด้วยการทุศีล 5 ทรงแสดงกรรมขาว ด้วยการมีศีลห้า ส่วนกรรมอีกสองอย่างทรงแสดงเหมือนกัน; ในจตุกฺก. อํ. 21/319/236 ทรงแสดงกรรมดำ ด้วยอนันตริยกรรมห้าทรงแสดงกรรมขาว ด้วยกุศลกรรมบถสิน ส่วนกรรมอีกสองอย่างทรงแสดงเหมือนกัน; ในจตุกฺก. อํ. 21/320/237 ทรงแสดงกรรมที่ 1-ที่ 2-ที่ 3 เหมือนกัน ทรงแสดงกรรมที่ 4 ด้วยอัฎฐังคิกมรรค; ในจตุกฺก. อํ. 21/321/238 ทรงแสดงกรรมที่ 1-ที่ 2-ที่ 3 เหมือนกัน ทรงแสดงกรรมที่ 4 ด้วยสัมโพชฌงค์ 7. ผู้รับการแสดงเป็นภิกษุบ้าง เป็นคนพวกอื่นบ้าง. -ผู้รวบรวม.

- บาลี กุกกุโรวามสูตร ม.ม. 13/82/88. ตรัสแก่ปุณณโกลิยบุตรผู้ประพฤติวัตรดังโค ที่นิคมหลิททวสนะ แคว้นโลกิยะ.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง