[Font : 15 ]
| |
ผู้ที่ควรเข้าใกล้ |  

ภิกษุ ท.! ก็บุคคลเช่นไรเล่า ที่คนทุกๆ คนควรคบหาสมาคม ควรเข้าใกล้.

ภิกษุ ท.! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สมาธิ และปัญญา พอเสมอกัน, บุคคลดังกล่าวนี้ เป็นผู้ที่น่าคบหา สมาคม น่าเข้าใกล้. ข้อนั้นเพราะอะไร? เพราะเมื่อเราเป็นผู้มีศีล สมาธิ และปัญญา เสมอกันแล้ว, การพูดกันถึงเรื่องศีล สมาธิ และปัญญาของเรานั้นก็จักมีได้ด้วย, การพูดกันของเรานั้น จักไปกันได้ด้วย, และการพูดกันของเรานั้นจักเป็นความสบายอกสบายใจด้วย; เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้ จึงเป็นผู้ที่ทุกคนควรคบหาสมาคม ควรเข้าใกล้.

ภิกษุ ท.! ก็บุคคลเช่นไรเล่า ที่ตอ้งสักการะเคารพเสียก่อน แล้วจึงคบหาสมาคม เข้าใกล้?

ภิกษุ ท.! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สมาธิ และปัญญา ยิ่งกว่าเรา, บุคคลดังกล่าวนี้ เป็นเช่นนี้ จึงเป็นผู้ที่ทุกคนควรคบหาสมาคม ควรเข้าใกล้. ข้อนั้นเพราะอะไร? เพราะเราจักได้ทำกองศีล กองสมาธิ และกองปัญญาของเรา ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์บ้าง, เราจักได้ประกับประคองกองศีล กองสมาธิ และกองปัญญา ที่บริบูรณ์แล้วไว้ได้ด้วยปัญญาในธรรมนั้นๆ บ้าง; เพราะฉะนั้น บุคคลเช่นนี้ จึงเป็นผู้ที่ต้องสักการะเคารพเสียก่อน แล้งจึงคบหาสมาคม เข้าใกล้ แล.

- บาลี พระพุทธภาษิต ติก. อํ. 20/157/465.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง