[Font : 15 ]
| |
พรหมจรรย์

1. พยัญชนะ : พรหมจรรย์โดยพยัญชนะ : คือ คือการประพฤติอย่างพรหม.

2. อรรถะ : พรหมจรรย์โดยอรรถะ :

2.1 แบบแห่งการครองชีวิตอยู่อย่างประเสริฐ ชนิดที่กิเลสและความทุกข์ย่ำยีไม่ได้.

2.2 การประพฤติวัตรปฏิบัติข้อใดข้อหนึ่งอย่างสม่ำเสมอจนตลอดชีวิต.

2.3 การเว้นกิจกรรมทางเพศทุกประการโดยสิ้นเชิง.

3. ไวพจน์ : พรหมจรรย์โดยไวพจน์ : คือ ศาสนา, อริยอัฏฐังคิกมรรค, ธรรมวินัย, ธรรมจริยา ฯลฯ

4. องค์ประกอบ : พรหมจรรย์โดยองค์ประกอบ :

1. ความประสงค์จะกระทำที่สุดแห่งความทุกข์.

2. กำลังศีล, กำลังสมาธิ, กำลังปัญญา.

3. ธรรมเป็นกำลังแห่งความสำเร็จ เช่น อิทธิบาท 4A48 ฯลฯ

5. ลักษณะ : พรหมจรรย์โดยลักษณะ : มีลักษณะ :

5.1 งดงามในเบื้องต้น คือปริยัติ ; งดงามในท่ามกลาง คือปฏิบัติ (ศีล สมาธิ ปัญญา) ; งดงามในเบื้องปลาย คือปฏิเวธ (มรรค ผล นิพพาน).

5.2 ชวนให้ปฏิบัติเหมือนมัณฑะA49 ยอดโอชาแห่งโครสที่น่าดื่มอย่างยิ่ง.

5.3 มีลักษณะสมบูรณ์ทั้งพยัญชนะและอรรถะ.

5.4 มีลักษณะอันประเสริฐตามความหมายของคำว่า “พรหม”.

6. อาการ : พรหมจรรย์โดยอาการ : มีอาการ :

6.1 มีอาการแห่งความเป็นของประเสริฐเหนือสิ่งทั้งปวงคือดับทุกข์ได้.

6.2 มีลักษณะการเป็นบันไดแห่งนิพพาน.

7. ประเภท : พรหมจรรย์โดยประเภท :

7.1 แบ่งโดยประเภทสอง :

กลุ่มที่ 1 :

1. พรหมจรรย์ของผู้ที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ มีเพื่อเป็นพระอรหันต์.

2. พรหมจรรย์ของพระอรหันต์ เป็นการเสวยวิมุตติสุข.

กลุ่มที่ 2 :

1.พรหมจรรย์ที่ประพฤติได้ในบ้านเรือน (อาคาริกพรหมจรรย์).

2. พรหมจรรย์ที่ต้องออกจากบ้านเรือน (อนาคาริกพรหมจรรย์).

7.2 แบ่งโดยประเภทสาม :

1. พรหมจรรย์อย่างต่ำเพื่อเป็นกษัตริย์

2. พรหมจรรย์อย่างกลางเพื่อเป็นเทวดา.

3. พรหมจรรย์อย่างสูงเพื่อเป็นพระอรหันต์. นี้เป็นโบราณธรรม.

8. กฎเกณฑ์ : พรหมจรรย์โดยกฎเกณฑ์ :

8.1 มีปฏิจจสมุปบาทเป็นจุดตั้งต้น (อาทิพรหมจรรย์) ตามที่ตรัสไว้.

8.2 พรหมจรรย์ต้องมีลักษณะลุ่มลึกไปตามลำดับ เหมือนฝั่งทะเล.

8.3 อานิสงส์ของพรหมจรรย์ต้องมิใช่ลาภสักการ ต้องเป็นวิมุตติ.

8.4 การประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติได้ทั้งหญิงทั้งชาย ทั้งเด็กยุวชน คนหนุ่มสาว ; พ่อบ้านแม่เรือน ผู้ใหญ่ คนแก่ ; และประพฤติได้ทั้งที่วัดและที่บ้าน.

9. สัจจะ : พรหมจรรย์โดยสัจจะ :

9.1 พระพุทธองค์ตรัสว่า กัลยาณมิตร (ที่แท้จริง) เป็นความสำเร็จทั้งหมดของพรหมจรรย์.

9.2 เพศตรงกันข้ามเป็นข้าศึกของการประพฤติพรหมจรรย์.

9.3 กุศลกรรมบถ 10 เป็นพรหมจรรย์อย่างชนิดของผู้ครองเรือน.

9.4 หิริ โอตตัปปะ เป็นรากฐานของพรหมจรรย์.

9.5 แม้เป็นธรรมะขั้นต่ำ แต่ประพฤติอยู่อย่างเคร่งครัดไม่ขาดสายก็เรียกว่าพรหมจรรย์ (อย่างหนึ่ง) ได้เหมือนกัน.

9.6 การกระทำตามใจตนเอง (ตามใจกิเลส) เป็นข้าศึกของพรหมจรรย์.

9.7 กิเลสย่อมไม่สามารถย่ำยีผู้ประพฤติพรหมจรรย์.

10 หน้าที่ : พรหมจรรย์โดยหน้าที่ :

10.1 หน้าที่ (โดยสมมติ) ของพรหมจรรย์ : คือ การทำบุคคลให้เป็นพรหม (ผู้ประเสริฐ).

10.2 หน้าที่ของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ในพุทธศาสนา : คือ การประพฤติเพื่อความสิ้นสุดแห่งความทุกข์.

10.3 หน้าที่ของผู้จบกิจพรหมจรรย์ : คือ การประกาศพรหมจรรย์.

11. อุปมา : พรหมจรรย์โดยอุปมา : เปรียบเสมือน :

11.1 มัณฑะที่น่าดื่ม.

11.2 บันไดแห่งนิพพาน.

11.3 “สบู่” ทางจิตที่ครบชุด.

11.4 “หลุมหลบภัย” ตลอดกาล.

12. สมุทัย : พรหมจรรย์โดยสมุทัย : เนื่องมาจาก :

12.1 สัมมาสังกัปปะ.

12.2 การทนความคับแคบวุ่นวายในบ้านเรือนไม่ได้.

12.3 ประเพณีปรัมปราที่ว่าทุกคนควรบวช ; แต่ก็เป็นพรหมจรรย์ปรัมปรา.

13. อัตถังคมะ : พรหมจรรย์โดยอัตถังคมะ :

13.1 ความเป็นทาสของวัตถุ เป็นความล้มละลายของพรหมจรรย์.

13.2 การปฏิบัติที่เป็นไปไม่ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของผัสสายตนะA50 พรหมจรรย์ก็หยุดชะงักหรือเป็นไปไม่ได้.

13.3 การตกอยู่ใต้อำนาจของเพศตรงกันข้าม เป็นข้าศึกของพรหมจรรย์.

13.4 กิเลสแรงกล้าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเข้าครอบงำ.

14. อัสสาทะ : พรหมจรรย์โดยอัสสาทะ : แก่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ :

14.1 ความหวังที่จะได้สิ่งที่ตนปรารถนาอันสูงสุด.

14.2 ความสงบสุขเยือกเย็นที่ได้รับจากการประพฤติพรหมจรรย์.

14.3 ความรู้สึกว่าได้กระทำสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรกระทำ.

15. อาทีนวะ : พรหมจรรย์โดยอาทีนวะ : อาทีนวะของการประพฤติพรหมจรรย์โดยตรงไม่มี : เว้นแต่พรหมจรรย์ที่ “ลูบคลำไม่ดี” หรือประพฤติเพื่อการหลอกลวง ; มีผลเหมือนหญ้าคมบางที่จับไม่ดีบาดมือผู้จับหรืองูพิษที่แว้งกัดเจ้าของ.

16. นิสสรณะ : พรหมจรรย์โดยนิสสรณะ : การออกมาเสียจากพรหมจรรย์ ไม่ต้องมีสำหรับคนธรรมดา ; แต่มีสำหรับผู้จบกิจพรหมจรรย์ คือมีอตัมมยตา.

17. ทางปฏิบัติ : พรหมจรรย์โดยทางปฏิบัติ : เพื่อการมีพรหมจรรย์ :

17.1 ไตรสิกขาหรืออริยอัฏฐังคิกมรรค.

17.2 การกระทำทุกอย่างที่เป็นไปเพื่อความไม่ยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวตนหรือของตน.

17.3 ระเบียบปฏิบัติที่เป็นการควบคุมจิตและพัฒนาจิต.

18. อานิสงส์ : พรหมจรรย์โดยอานิสงส์ :

18.1 การบรรลุเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ.

18.2 มีนิพพานในปัจจุบัน.

18.3 ความสิ้นไปแห่งกิเลสและความทุกข์.

18.4 อานิสงส์ขั้นสูงสุดอยู่ที่การเข้าถึงความว่าง (สุญญตา).

18.5 การเข้าถึงความเป็นพรหม (ในทุกความหมาย).

19. หนทางถลำ : พรหมจรรย์โดยหนทางถลำ : เข้าไปสู่การประพฤติพรหมจรรย์ :

19.1 ความหวังที่จะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์จะพึงได้รับอยู่เสมอ.

19.2 การเบื่อภพตามลำดับ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ).

20. สิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : พรหมจรรย์โดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : ในการประพฤติพรหมจรรย์ : คือ : ธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งโพธิ : คือโพธิปักขิยธรรมทุกข้อ.

21. ภาษาคน - ภาษาธรรม : พรหมจรรย์โดยภาษาคน - ภาษาธรรม :

21.1 ภาษาคน : การสำรวมในกิจกรรมระหว่างเพศ.

ภาษาธรรม : อริยมรรคมีองค์ 8.

21.2 ภาษาคน : การประพฤติเพื่อเป็นพรหม.

ภาษาธรรม : การประพฤติเพื่อนิพพาน.

ธรรมโฆษณ์ที่แนะนำให้อ่าน

1. นวกานุสาสน์ เล่ม 1

2. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์

3. สันทัสเสตัพพธรรม


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง