[Font : 15 ]
| |
ผู้ไม่ทำศาสนาเสื่อม |  

ภิกษุ ท.! มูลเหตุ 4 ประการเหล่านี้ ย่อมทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป. 4 ประการอะไรบ้างเล่า? 4 ประการ คือ:-

(1) ภิกษุ ท.! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูกด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูกความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น. ภิกษุ ท.! นี่เป็น มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

(2) ภิกษุ ท.! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุ เป็นคนว่าง่าย ประกอบด้วยเหตุที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย อดทน ยอมรับคำสั่งสอนโดยความเคารพหนักแน่น. ภิกษุ ท.! นี่เป็นกรณีที่สอง ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป

(3) ภิกษุ ท.! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่วในหลักพระพุทธวจนะ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่ บอกสอน เนื่อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ, เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรทั้งหลาย ก็ไม่ขาดเป็นมูลราก (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป. ภิกษุ ท.! นี่เป็นมูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

(4) ภิกษุ ท.! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุผู้เถระ ไม่ทำการสะสมบริกขาร ไม่ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา ไม่เป็นผู้นำในทางทราม มุ่งหน้าไปในกิจแห่งวิเวกธรรม ย่อมปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง. พวกภิกษุที่บวชในภายหลัง ได้เห็นพระเถระเหล่านั้น ทำแบบฉบับเช่นนั้นไว้ ก็ถอืเอาเป็นตัวอย่าง, พวกภิกษุรุ่นหลัง จึงเป็นพระที่ไม่ทำการสะสมบริกขาร ไม่ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา ไม่เป็นผู้นำในทางทราม มุ่งหน้าไปในกิจแห่งวิเวกธรรม ย่อมปรารถความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท.! นี่เป็นมูลกรณีที่สี่ ซึ่งทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

ภิกษุ ท.! มูลเหตุ 4 ประการเหล่านี้แล ย่อมทำให้รพะสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไปเลย.

- บาลี พระพุทธภาษิต จตุกฺก. อํ. 21/198/160, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง