[Font : 15 ]
| |
: เกี่ยวกับ "อย่างใดอย่างหนึ่ง" หรือ "อย่างอื่น" |  

(เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสกระแสปฎิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวารจบลงแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามว่า:-)

"ข้าแต่พระงค์ผู้เจริญ! ชรามรณะ เป็นอย่างไรหนอ! และชรามรณะนี้ เป็นของใคร?"

(ได้ตรัสตอบว่า:-)

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย : ภิกษุ! บุคคลใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่า "ชรามรณะเป็นอย่างไร และชรามรณะเป็นของใคร" ดังนี้ก็ดี; หรือว่าบุคคลใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่า "ชรามรณะเป็นอย่างอื่น (: ตรงกันข้ามจากที่กล่าวว่าเป็นอย่างไร,ตามนัยแรก) และชรามรณะนี้ เป็นของผู้อื่น (: ตรงกันข้ามจากมี่กล่าวว่าเป็นของใคร,ตามนัยแรก)" ดังนี้ก็ดี : คำกล่าวของบุคคลทั้งสองนี้ มีอรรถ (ความหมายเพื่อการยึดมั่นถือมั่น) อย่างเดียวกัน, ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะ (เสียงที่กล่าว) เท่านั้น.

ภิกษุ ! เมื่อทิฎฐิว่า "ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น" ดังนี้ก็ดี มีอยู่, การอยู่อย่างประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่มี. ภิกษุ! หรือว่า เมื่อทิฎฐิว่า "ชีวิก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น" ดังนี้ก็ดี มีอยู่, การอยู่อย่างประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่มี.

ภิกษุ ! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาที่สุดทั้งสองนั้น คือตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า "เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ" ดังนี้. ----(ในกรณีแห่ง ชาติ-ภพ-อุปาทาน-ตัณหา-เวทนา-ผัสสะ-สฬายตนะ-นามรูป-วิญญาณ-สังขาร ก็มีการถามและตอบ โดยนัยอย่างเดียวกัน)

- บาลี นิทาน. สํ. 16/72/129-132. ตรัสแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. บาลี นิทาน. สํ. 16/75/138-139, มีคำตรัสเหมือนข้างบน ต่างแต่ไม่มีภิกษุทูลถาม และตรัสแก่ภิกษุ ท.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง