[Font : 15 ]
| |
ละฉันทราคะแห่งสิ่งใด ก็คือการละซึ่งสิ่งนั้น |  

ภิกษุ ท.! เมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รู้รอบ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาด ซึ่งรูป.... เวทนา.... สัญญา.... สังขาร.... วิญญาณ ก็ไม่ควรแก่ความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท.! เมื่อรู้ยิ่ง เมื่อรู้รอบ เมื่อคลายกำหนัด เมื่อละขาด ซึ่งรูป .... เวทนา.... สัญญา.... สังขาร วิญญาณ ก็ควรแก่ความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท.! เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในรูป .... เวทนา....สัญญา ....สังขาร.... วิญญาณ เสีย; ด้วยการกระทำอย่างนี้ เป็นอันว่ารูป.... เวทนา.... สัญญา.... สังขาร.... วิญญาณ นั้น เป็นสิ่งที่เธอละขาดแล้ว มีรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนต้นตาลมีขั้วยอดอันขาดแล้ว ให้ถึงความไม่มีอยู่ มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

- ขนฺธ สํ. 17/33/56-58.

(ข้อความนี้มีประโยชน์มาก ที่ทำให้เราสามารถละสิ่งที่ควรละได้เต็มตามความหมาย; คือไม่ใช่ละตัววัตถุนั้น แต่ละความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น จึงจะเป็นการละสิ่งนั้นได้เด็ดขาด และเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยิ่งกว่าการที่จะไปละวัตถุนั้น ๆ โดยตรง).


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง