[Font : 15 ]
| |
ฉ. หมวดนวสีวถิกา (คือกาย) |  

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : (1) ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าที่ทิ้งศพ ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง ตายแล้วสองวันบ้าง ตายแล้วสามวันบ้าง กำลังขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีหนองไหลน่าเกลียด ฉันใด, เธอจึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, .... ฯลฯ .... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.”).

(2) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าที่ทิ้งศพ อันฝูงกาบ้าง เจาะกินอยู่, อันฝูงนกตะกรุมบ้าง จิกกินอยู่, อันฝูงแร้งบ้าง เจาะกินอยู่, อันฝูงสุนัขบ้าง กัดกินอยู่, อันฝูงสุนัขจิ้งจอกบ้าง กัดกินอยู่, อันหมู่หนอนต่างชนิดบ้าง บ่อนกินอยู่ ฉันใด, เธอก็พึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอัน เป็นภายนอกอยู่ บ้าง, .... ฯลฯ .... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง," ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.”).

(3) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นร่างกระดูกมีเนื้อและเลือด ยังมีเอ็นเป็นเครื่องรึงรัด ฉันใด, เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง , .... ฯลฯ .... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.").

(4) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นร่างกระดูกปราศจากเนื้อ แต่ยังมีน้ำเลือดเปื้อนอยู่ ยังมีเอ็นเป็นเครื่องรึงรัด ฉันใด, เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, .... ฯลฯ .... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในภายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.").

(5) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นร่างกระดูกปราศจากเนื้อและเลือด แต่ยังมีเอ็นรึงรัด ฉันใด, เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, .... ฯลฯ .... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.").

(6) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นร่างกระดูกไม่มีเอ็นรึงรัด กระจัดกระจายไปในทิศต่างๆ กระดูกมือไปทาง กระดูกเท้าไปทาง กระดูกแข้งไปทาง กระดูกขาไปทาง กระดูกสะเอวไปทาง กระดูกหลังไปทาง20.9 กระดูกข้อสันหลังไปทาง20.9 กระดูกซี่โครงไปทาง กระดูกหน้าอกไปทาง กระดูกไหล่ไปทาง กระดูกแขนไปทาง 20.10 กระดูกคอไปทาง กระดูกคางไปทาง กระดูกฟันไปทาง กระโหลกศีรษะไปทาง ฉันใด, เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, .... ฯลฯ .... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง.” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.”).

(7) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นชิ้นกระดูกทั้งหลาย มีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์ ฉันใด, เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายใน อยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, .... ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.”).

(8) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นชิ้นกระดูกทั้งหลาย เป็นกอง ๆ เรี่ยรายอยู่นานเกินกว่าปีหนึ่ง ฉันใด, เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, …. ฯลฯ .... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.").

(9) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นกระดูกทั้งหลาย เปื่อยเป็นผงละเอียด ฉันใด, เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายในและภายนอกอยู่ บ้าง; และเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้น (แห่งกาย) ในกาย (นี้) อยู่ บ้าง, เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไป (แห่งกาย) ในกาย (นี้) อยู่ บ้าง, เห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไป (แห่งกาย) ในกาย (นี้) อยู่ บ้าง. ก็แหละสติ (คือความระลึก) ว่า “กายมีอยู่” ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่ออาศัยระลึก. ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลกนี้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.

- นัยแห่งอานาปานสติสูตร : 14/195/289.

- นัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร : 10/325 - 332/274 - 287.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง