[Font : 15 ]
| |
ทรงมีเวสารัชชญาณ 4 |  

ภิกษุ ท.! เหล่านี้เป็นเวสารัชชญาณ 4 อย่างของตถาคต ที่ตถาคตประกอบพร้อมแล้ว ปฏิญญาตำแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในท่ามกลางบริษัท ท.ได้, 4 อย่างคือ :-

(1). ตถาคตไม่มองเห็นวี่แวช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร, พรหม, หรือใครๆ ในโลก จักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ธรรมเหล่านี้ๆ อันท่านผู้ปฏิญญาตนเป็นสัมมา สัมพุทธะอยู่ ไม่ได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้น จึงเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.

(2). ตถาคต ไม่มองเห็นวี่แวช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร, พรหม, หรือใครๆ ในโลก จักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "อาสวะเหล่านี้ๆ อันท่านผู้ปฏิญญาตนเป็นขีณาสพ ผู้สิ้นอาสวะอยู่ ยังไม่สิ้นรอบแล้ว" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้น จึงเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.

(3). ตถาคตไม่มองเห็นวี่แวช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร, พรหม, หรือใครๆ ในโลก จักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ธรรมเหล่าใด ที่ท่านกล่าวว่าเป็นธรรมทำอันตรายแก่ผู้เสพ, ธรรมเหล่านั้นถึงเมื่อบุคคลเสพอยู่ ก็หาอาจทำอันตรายไม่" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคต เมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้น จึงเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.

(4). ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร, พรหม, หรือใครๆในโลก จักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์นั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแก่มทำอันตรายแก่ผู้เสพ, ธรรมเหล่านั้นถึงเมื่อบุคคลผู้ประพฤติตามธรรมนั้น" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้น จึงเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.

ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล เป็นเวลารัชชญาณ 4 อย่างของตถาคต อันตถาคตประกอบพร้อมแล้ว ปฏิญญาตำแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรให้เป็นไปในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย.

- บาลี จตุกฺก. อํ. 21/10/8 และ มหาสีหนาทสูตร มู.ม. 12/144/167.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง