[Font : 15 ]
| |
2. ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร |  

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ (1) รู้ชัดซึ่งจิตอันมีราคะ ว่า “จิตมีราคะ”, (2) รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากราคะ ว่า “จิตปราศจากราคะ”, (3) รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโทสะ ว่า “จิตมีโทสะ”, (4) รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากโทสะ ว่า “จิตปราศจากโทสะ", (5) รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโมหะ ว่า “จิตมีโมหะ", (6) รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากโมหะ ว่า “จิตปราศจากโมหะ”, (7) รู้ชัดซึ่งจิตอันหดหู่ ว่า “จิตหดหู่”, (8) รู้ชัดซึ่งจิตอันฟุ้งซ่าน ว่า “จิตฟุ้งซ่าน”, (9) รู้ชัดซึ่งจิตอันถึงความเป็นจิตใหญ่ 20.13 ว่า “จิตถึงแล้วซึ่งความเป็นจิตใหญ่”, (10) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่ถึงความเป็นจิตใหญ่ ว่า “จิตไม่ถึงความเป็นจิตใหญ่”, (11) รู้ชัดซึ่งจิตอันยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า ว่า “จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า”, (12) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ว่า “จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า”, (13) รู้ชัดซึ่งจิตอันตั้งมั่น ว่า “จิตตั้งมั่น”, (14) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่ตั้งมั่น ว่า “จิตไม่ตั้งมั่น”, (15) รู้ชัดซึ่งจิตอันหลุดพ้นแล้ว ว่า “จิตหลุดพ้นแล้ว”, (16) รู้ชัดซึ่งจิตอันยังไม่หลุดพ้น ว่า “จิตยังไม่หลุดพ้น”.

ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นจิต ในจิตอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในจิตอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, ในจิตทั้งภายในและภายนอกอยู่ บ้าง ; และเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้น (แห่งจิต) ในจิต (นี้) อยู่ บ้าง, เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไป (แห่งจิต) ในจิต (นี้) อยู่ บ้าง, เห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไป (แห่งจิต) ในจิต (นี้) อยู่ บ้าง. ก็แหละสติ (คือความระลึก) ว่า “จิตมีอยู่” ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่อความอาศัยระลึก. ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลกนี้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปรกติตามเห็นจิตในจิตอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.

- นัยแห่งอานาปานสติสูตร : 14/196/289.

- นัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร : 10/334/289.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง