[Font : 15 ]
| |
รายละเอียดที่ควรศึกษา เกี่ยวกับกาม |  

ภิกษุ ท.! ที่เรากล่าว่า "กาม นิทานสัมภวะแห่งาม เวมัตตตาแห่งกาม วิบากแห่งกาม นิโรธแห่งกาม ปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม เป็นสิ่งที่ควรรู้แจ้ง" นั้น เรากล่าวหมายถึงกามไหนกันเล่า? ภิกษุ ท.! กามคุณ 5 อย่างเหล่านี้ คือ รูป ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ.... เสียงทั้งหลาย อันจะถึงรู้แจ้งได้ด้วยโสตะ.... กลิ่นทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยฆานะ.... รสทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยชิวหา.... โผฏฐัพพะทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะอันน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่, ภิกษุ ท.! อารมณ์ 5 อย่างเหล่านี้ หาใช่กามไม่; 5 อย่างเหล่านี้ เรียกกันในอริยวินัย ว่า กามคุณ.

(คาถาจำกัดความตอนนี้)

ความกำหนัดไปตามอำนาจความติตรึก (สงฺกปฺปราค) นั่นแหละคือกามของคนเรา; อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก นั้น หาใช่กามไม่; ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก นั่นแหละคือกามของคนเรา; อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลก ตามประสาของมันเท่านั้น; ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่งฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้.

ภิกษุ ท.! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิด) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า? นิทานสัมภวะแห่งกาม คือ ผัสสะ.

ภิกษุ ท.! เวมัตตา (ประมาณต่าง ๆ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! เวมัตตตาแห่งกาม คือ ความใคร่ (กาม) ในรูปารมณ์ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในสัททารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในคันธารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในรสารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในโผฏฐัพพารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ; ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่า เวมัตตาแห่งกาม.

ภิกษุ ท.! วิบากแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! บุคคลใคร่อยู่ซึ่งอารมณ์ (แห่งกาม) ใด เขากระทำอัตตภาพอันเกิดจากกามนั้น ๆ ให้เกิดขึ้น4.4 เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญก็ดี มีส่วนแห่งอบุญก็ดี; ภิกษุ ท.! นี้ เราเรียกว่า วิบากแห่งกาม.

ภิกษุ ท.! นิโรธ (ความดับ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! นิโรธแห่งกามย่อมมี เพราะนิโรธแห่งผัสสะ. อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแล เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม; ปฏิปทานั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ภิกษุ ท.! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเวมัตตตาแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งวิบากแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้; ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส ว่าเป็นนิโรธแห่งกาม.

- ฉกฺก. อ. 22/457-460/334.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง