[Font : 15 ]
| |
ทรงมีศิษย์ทั้งที่ดื้อและไม่ดื้อ |  

อุทายิ! ในธรรมวินัยนี้ เหล่าโมฆบุรุษบางพวก เมื่อเรากล่าวอยู่ว่า"พวกท่านจงละความชั่วอันนี้เสีย", ก็กล่าวอย่างนี้ว่า "ทำไมกะความชั่วชนิดนี้ซึ่งเป็นของเล็กน้อยต่ำต้อย, พระสมณะนี้ ขูดเกลาเกินไปแล้วละ" ดังนี้.โมฆบุรุษเหล่านั้น ไม่ละความชั่วนั้นด้วย และทั้งตั้งไว้ซึ่งความเคียดแค้นในเราด้วยในภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ต่อสิกขาด้วย. อุทายิ! ความชั่วอันนั้น ของโมฆบุรุษเหล่านั้น ย่อมเป็นเครื่องผูกรัดที่มีกำลัง มั่นคง เหนียวแน่น ไม่รู้จักผุเปื่อยเป็นเหมือนท่อนไม้แก่นแข็ง, ฉะนั้น.

อุทายิ! ส่วนว่ากุลบุตรบางพวก ในธรรมวินัยนี้, เมื่อเรากล่าวอยู่ว่า"พวกท่านจงละความชั่วอันนี้เสีย", ก็กล่าวอย่างนี้ว่า "ทำไมจะต้องให้ว่ากล่าวด้วยความชั่วชนิดนี้ ซึ่งเป็นของเล็กน้อยต่ำต้อย ซึ่งพระผู้มีพระภาคของพวกเรากล่าวการละ กล่าวการสลัดคืนไว้แล้ว ด้วยเล่า" ดังนี้. กุลบุตรเหล่านั้น ก็ละความชั่วนั้นเสีย และทั้งไม่ตั้งไว้ซึ่งความเคียดแค้นในเราด้วย ในภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ต่อสิกขาด้วย. กุลบุตรเหล่านั้น ละความชั่วนั้นแล้ว เป็นผู้ขวนขวายน้อยมีขนตกราบ (คือไม่ต้องขนพองเพราะความกลัว) มีชีวิตอยู่ด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีจิตเหมือนเนื้อ (คือถูกตีครั้งหนี่งแล้วย่อมไม่เปิดโอกาสให้ถูกตีอีก) อยู่. อุทายิ! ความชั่วอันนั้นของกุลบุตรเหล่านั้น ย่อมเป็นเครื่องผูกรัดที่ไม่มีกำลัง หย่อนกำลัง ผุเปื่อย ไม่มีแก่นแข็ง, ฉะนั้น.

- บาลี ลฑุกิโกปมสูตร ม.ม. 13/181/177. ตรัสแก่พระอุทายี ที่อาปณนิคม แคว้นอังคุตตราปะ.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง