[Font : 15 ]
| |
ปฏิจจสมุปบาททุกอาการมีลักษณะแห่งความเป็นอริยสัจ 4

ปฏิจจสมุปบาททุกอาการมีลักษณะแห่งความ เป็นอริยสัจ 4PTC41

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ;

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชาติ, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งชาติ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ ;

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ภพ, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งภพ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ ;

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง อุปาทาน, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน, รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ;

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ตัณหา, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา, รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่หลือ แห่งตัณหา, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทําสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ;

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง เวทนา, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา, รู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทําสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ;

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ผัสสะ, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทําสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งผัสสะ ;

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สฬายตนะ, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทําสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ;

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง นามรูป, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป, รู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทําสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งนามรูป ;

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณ, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ, รู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทําสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ;

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สังขาร ทั้งหลาย, รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร, รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร, รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ;

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไปแห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ : นี้ เรียกว่า ชรา, การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิตจากสัตว์นิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ : นี้ เรียกว่า มรณะ. ชรานี้ด้วย มรณะนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้ ; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เรียกว่า ชรามรณะ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ ; ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งชาติ ; มรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 นประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ชาติ เป็นอย่างไรเล่า ? การเกิด การกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ : ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เรียกว่า ชาติ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ ; ความดับไม่เหลือแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งภพ ; มรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภพ เป็นอย่างไรเล่า ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภพทั้งหลาย 3 อย่างนี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ : ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เรียกว่า ภพ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน ความดับไม่เหลือแห่งภพ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ; มรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อุปาทาทั้งหลาย 4 อย่างเหล่านี้ คือกามุปาทาน ทิฎฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เรียกว่า อุปาทาน. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทานย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งตัณหา; ความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ; มรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่ตัณหาทั้งหลาย 6 อย่างเหล่านี้ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฎฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา : ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เรียกว่า ตัณหา. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งตัณหา ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งเวทนา ; ความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ; มรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฎิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งเวทนาทั้งหลาย 6 อย่างเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา : ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เรียกว่า เวทนา. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ ; ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ; มรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฎิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งผัสสะทั้งหลาย 6 อย่างเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส : ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เรียกว่า ผัสสะ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งสฬายตนะ ; ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ; มรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฎิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ? จักขวายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนายตนะ : ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เรียกว่า สฬายตนะ ความก่อขึ้นพร้อมแห่งสฬายตนะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งนามรูป ; ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ; มรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นามรูป เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ : นี้เรียกว่านาม, มหาภูตทั้งสี่ด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตทั้ง 4 ด้วย : นี้เรียกว่า รูป, นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้ ; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า นามรูป. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งนามรูปย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งวิญญาณ ; ความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ; มรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 อันประเสริฐ นั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูป, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตซอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งวิญญาณทั้งหลาย 6 อย่างเหล่านี้ คือ จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ : ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เรียกว่าวิญญาณ ; ความก่อขึ้นพร้อมแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งสังขาร ; ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งสังขาร: มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั้นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไรเล่า ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย 3 อย่างเหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตติสังขาร: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า สังขารทั้งหลาย. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งสังขารย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา ; ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั้นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพากเพียร ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใดแล ภิกษุ ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ ; มารู้ทั่งถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ; ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ชาติ ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งชาติ ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ ; ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ภพ ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ ; มารู้ทั่ว ถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งภพ ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทําสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งภพ; ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง อุปาทาน ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทําสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ; ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ตัณหา ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทําสัตว์ให้ ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ; ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง เวทนา ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทําสัตว์ให้ ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ; ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ผัสสะ ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ ; มารู้ ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทําสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ; ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง สฬายตนะ ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทําสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ; ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง นามรูป ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ; ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณ ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ; มารู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ, ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง สังขารทั้งหลาย ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ; มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ; ว่าเป็นอย่างนี้ๆ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลนั้น เราเรียกภิกษุนั้น ว่า:-

"ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐฺ (ทิฏฐิสมฺปนฺโน)", ดังนี้บ้าง ;

"ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ (ทสฺสนสมฺปนฺโน)”, ดังนี้บ้าง ;

"ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว (อาคโต อิมํ สทฺธมฺมํ)" ดังนี้บ้าง ;

"ย่อมเห็นซึ่งพระสัทธรรมนี้ (ปสฺสติ อิมํ สทฺธมฺมํ)" ดังนี้บ้าง ;

"ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ (เสกฺเขน ญาเณน สมนฺนาคโต)" ดังนี้บ้าง ;

"ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ (เสกฺขาย วิชฺชาย สมนฺนาคโต)" ดังนี้บ้าง ;

"ผู้ถึงแล้วซึ่งกระแสแห่งธรรม (ธมฺมโสตํ สมาปนฺโน)" ดังนี้บ้าง ;

"ผู้ประเสริฐมีปัญญชำแรกกิเลส (อริโย นิพฺเพธิกปญฺโญ)" ดังนี้บ้าง ;

"ยืนอยู่จดประตูแห่งอมตะ (อมตทวารํ อาหจฺจ ติฏฺฐติ)" ดังนี้บ้าง.

หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตุให้เห็นว่า อาการแห่งปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการก็ยังจําแนกออกไปเป็นอริยสัจสี่อีกชั้นหนึ่ง ; เช่นเดียวกับตัวปฏิจจสมุปบาท ทั้งสาย, ดังที่กล่าวมาแล้ว โดยหัวข้อว่า “เรื่องปฏิจจสมุปบาท คือ เรื่องอริยสัจ”. ทั้งหมดนี้ รวมกันแล้ว เป็นเครื่องแสดงให้เห็นชัดยิ่งขึ้นไปอีก ว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นเรื่องอริยสัจทั้งเนื้อทั้งตัว. ขอให้กําหนดไว้เป็นพิเศษ ตลอดเวลา.

(แม้คําของพระมหาเถระ คือ พระสารีบุตร ก็ได้กล่าวถึงปฏิจจสมุทบาท โดย หลักแห่งอริยสัจ 4 อย่างเดียวกันกับพุทธภาษิตข้างบนนี้ แต่กล่าวในฐานะเป็นวัตถุแห่ง สัมมาทิฏฐิ คือ การรู้ชัดซึ่งอาการทุกอาการของปฏิจจสมุทบาท โดยนัยแห่งอริยสัจ 4 ว่าเป็นสัมมาทิฏฐิอย่างหนึ่งๆ ทุกอาการ รวมอยู่กับเรื่องอื่นๆ คือเรื่องอกุศล กุศล พร้อมทั้งมูลเหตุ, เรื่องอาหาร 4 โดยนัยแห่งอริยสัจ 4, เรื่องทุกข์โดยนัยแห่งอริยสัจ 4, และเรื่องอาสวะ โดยนัยแห่งอริยสัจ 4, ซึ่งล้วนแต่เป็นวัตถุแห่งสัมมาทิฏฐิด้วยกันทั้งนั้น. สําหรับเรื่องปฏิจจสมุทบาทนั้น มีข้อความดังที่ยกมาไว้เป็นส่วนผนวกของพระพุทธภาษิต ข้างบนนี้ ดังต่อไปนี้:-)

"ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก ที่จะทำอริยสาวก ให้ได้ชื่อว่าเป็น ผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีทิฏฐิดําเนินไปตรงแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในธรรม, มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ปริยายนั้นคือ ในกาลใด อริยสาวก ย่อมรู้ ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ ด้วย, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะด้วย, ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่ง ชรามรณะด้วย ; ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อริยสาวกนั้น. ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีทิฏฐิดําเนินไปตรงแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ในกาลนั้น.

…ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก…ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชาติ ด้วย, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งชาติด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติด้วย ; … ฯลฯ… ในกาลนั้น.

…ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ภพ ด้วย, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งภพด้วย ; ... ฯลฯ... ในกาลนั้น.

...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก…ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง อุปาทาน ด้วย, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทานด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอุปาทานด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทานด้วย ; ...ฯลฯ… ในกาลนั้น.

…ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก…ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ตัณหา ด้วย, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหาด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหาด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหาด้วย ; ...ฯลฯ... ในกาลนั้น.

...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง เวทนา ด้วย, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนาด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนาด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนาด้วย ; ...ฯลฯ... ในกาลนั้น.

...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ผัสสะ ด้วย, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะด้วย ; …ฯลฯ... ในกาลนั้น.

...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สฬายตนะ ด้วย, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะด้วย ; ...ฯลฯ... ในกาลนั้น.

...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง นามรูป ด้วย, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูปด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูปด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูปด้วย ; ...ฯลฯ... ในกาลนั้น.

...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณ ด้วย, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณด้วย ; ...ฯลฯ... ในกาลนั้น.

...ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก...ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สังขาร ด้วย, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขารด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขารด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขารด้วย ; ...ฯลฯ... ในกาลนั้น.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ปริยายอย่างอื่นยังมีอีก ที่จะทำอริยสาวกให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในธรรม, มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ปริยายนั้นคือ ในกาลใด อริยสาวก ย่อม รู้ทั่วถึงซึ่ง อวิชชาด้วย, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอวิชชาด้วย, ซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งอวิชชาด้วย, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทําสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งอวิชชาด้วย ; ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อริยสาวกนั้น. ชื่อว่าเป็นผู้มี สัมมาทิฏฐิ มีทิฏฐิดําเนินไปตรงแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันไม่ หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ในกาลนั้น…..

(ต่อไปนี้ พระสารีบุตรได้กล่าวถึงเรื่องอาสวะ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ ไปจนจบสูตรชื่อสัมมาทิฏฐิ สูตร มู.ม. 12/90/117)

หมายเหตุผู้รวบรวม : ในพุทธภาษิตในตอนต้นของเรื่องนี้ ตรัสลักษณะของ อริยสัจ 4 ในอาการของปฏิจจสมุปบาท ไม่ขึ้นไปถึงอวิชชา ดังในสูตรนี้ซึ่งกล่าวขึ้นไปถึง อวิชชา, การรู้ปฏิจจสมุปบาท แต่ละอาการ โดยละอาการ โดยนัยอริยสัจ 4 เป็นลักษณะของการบรรลุความเป็นโสดาบัน เป็นอย่างน้อย. ความข้อนี้ มีตรงกัน ทั้งที่เป็นพุทธภาษิต และสาวก ภาษิตเช่นนี้ แล.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ