[Font : 15 ]
| |
คนเราไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรมเพราะไม่สามารถตัดกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท

คนเราไม่ปรินิพพานในทิฎฐธรรม เพราะไม่สามารถตัดกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทPTC13

ท้าวสักกะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรม ? และอะไรเป็นเหตุปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในทิฎฐธรรม (คืนทันเวลา, ทันควัน, ไม่ต้องรอเวลาข้างหน้า) พระเจ้าข้า?”

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย ! รูปทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุมีอยู่, เป็นรูปที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ; ถ้าหากว่า ภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญเมาหมกอยู่ ซึ่งรูปนั้น แล้วไซร้, เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่กะรูปนั้น, วิญญาณนั้นอันตัณหาในอารมณ์คือรูปอาศัยแล้ว ย่อมมีแก่เธอนั้น ; วิญญาณนั้น คืออุปาทาน.PTC14 ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย ! ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.

(ในกรณีแห่งเสียงที่จะพึงรู้สึกด้วยโสตะ, กลิ่นที่จะพึงรู้สึกด้วยมานะ, รสที่จะพึงรู้สึกด้วยชิวหา, สัมผัสทางผิวหนังที่จะพึ่งรู้สึกด้วยดาย (ผิวกายทั่วไป) ; ก็มีข้อความอย่างเดียวกันกับข้อความในกรณีแห่งรูปที่จะพึงรู้สึกได้ด้วยจักษุ ดังที่กล่าวแล้วข้างบน ทุกตัวอักษร ; ต่างกันเพียงชื่อแห่งอายตนะแต่ละอายตนะเท่านั้น ; ในที่นี้จะยกข้อความอันกล่าวถึงธัมมารมณ์เป็นข้อสุดท้าย มากล่าวไว้อีกครั้งดังต่อไปนี้ :-)

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย ! ธัมมารมณ์ทั้งหลายที่จะพึงรู้สึดด้วยมโน มีอยู่, เป็นธัมมารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ; ถ้าหากว่า ภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งธัมมารมณ์นั้น แล้วไซร้, เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ กะธัมมารมณ์นั้น, วิญญาณนั้นคืออุปาทาน. ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมเทวดาทั้งหลาย ! ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย ! นี้แลเป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในทิฏธรรม.

(ฝ่ายปฏิปักขนัย)

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเเทวดาทั้งหลาย ! รูปทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุมีอยู่, เป็นรูปที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ; ถ้าหากว่า ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งรูปนั้น แล้วไซร้, เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ กะรูปนั้น, วิญญาณนั้นอันตัณหาในอารมณ์คือรูปอาศัยแล้ว ย่อมไม่มีแก่เธอนั้น ; วิญญาณที่จะเป็นอุปาทานย่อมไม่มี ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน.

(ในกรณีแห่งเสียงที่จะพึงรู้ด้วยโสตะ, กลิ่นที่จะพึงรู้สึกด้วยฆานะ, รสที่จะพึงรู้สึกด้วยชิวหา, สัมผัสทางผิวหนังที่จะพึงรู้สึกด้วยกาย (ผิวกายทั่วไป) ; ก็มีข้อความอย่างเดียวกันกับข้อความในกรณีแห่งรูปที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุ ดังที่กล่าวแล้วข้างบน ทุกตัวอักษร ; ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งอายตนะแต่ละอายตนะเท่านั้น; ในที่นี้จะยกข้อความอันกล่าวถึงธัมมาภรณ์เป็นข้อสุดท้าย มากล่าวไว้อีกครั้ง ดังต่อไปนี้ :-)

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเเทวดาทั้งหลาย ! ธัมมาภรณ์ทั้งหลายที่จะพึงรู้สึกด้วยมโน มีอยู่, เป็นธัมมาภรณ์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ; ถ้าหากว่า ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ กะธัมมาภรณ์นั้น แล้วไซร้, เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ กะธัมมาภรณ์นั้น, วิญญาณนั้นอันตัณหาในอารมณ์คือธัมมาภรณ์อาศัยแล้ว ย่อมไม่มีแก่เธอนั้น ; วิญญาณที่จะเป็นอุปาทานย่อมไม่มี. ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย! ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน.

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเเทวดาทั้งหลาย! นี้แลเป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัยที่ทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในทิฏฐธรรม, ดังนี้ แล.

หมายเหตุผู้รวบรวม : เป็นที่น่าสังเกตว่า การทูลถามถึงการปรินิพพานในปัจจุบันเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ทูลถามโดยคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนทั้งนั้น ทั้งที่เป็นเทวดาและมนุษย์ ; ยังไม่พบที่ทูลถามโดยภิกษุเลย (นอกจากใน จตุกฺก.อํ.21/226/179, ซึ่งพระอานนท์ได้ถามเรื่องนี้กะพระสารีบุตร); ชะรอยว่าเรื่องนี้จะเป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว หรืออย่างไรกันแน่ เป็นเรื่องที่ควรจะช่วยกันนำไปวินิจฉัยดู. อนึ่ง สิ่งที่เรียกว่า ปรินิพพาน นั้น คือการสิ้นสุดแห่งกระแสของปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง.

บทนำ จบ


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ