[Font : 15 ]
| |
ไวพจน์แห่งคำว่า "ตถาคต" |  

วาเสฏฐะ ท. ! ก็ศรัทธาของผู้ใดแล ตั้งมั่นในตถาคต ฝังลงรากแล้วดำรงอยู่ได้มั่นคง อันสมณะหรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลกก็ตาม ไม่ชักนำไปทางอื่นได้, ผู้นั้นควรจะกล่าวได้อย่างนี้ว่า "เราเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากปากของพระผู้มีพระภาค เกิดโดยธรรม อันธรรมเนรมิต เป็นทายาทแห่งธรรม" ดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะคำว่า "ธรรมกาย" บ้าง "พรหมกาย" บ้าง "ธรรมภูต" บ้าง "พรหมภูต" บ้าง นี้ เป็นคำสำหรับเรียกแทนชื่อตถาคต แล.

(อีกสูตรหนึ่ง04.23)

ภิกษุ ท.! คำว่า "สมณะ" เป็นคำแทนชื่อของตถาคตฯ

ภิกษุ ท.! คำว่า "พราหมณ์" เป็นคำแทนชื่อของตถาคตฯ

ภิกษุ ท.! คำว่า "เวทคู"04.24 เป็นคำแทนชื่อของตถาคตฯ

ภิกษุ ท.! คำว่า "ภิสักโก"04.25 เป็นคำแทนชื่อของตถาคตฯ

ภิกษุ ท.! คำว่า "นิมมโล" เป็นคำแทนชื่อของตถาคตฯ

ภิกษุ ท.! คำว่า "วิมโล" เป็นคำแทนชื่อของตถาคตฯ

ภิกษุ ท.! คำว่า "ญาณี" เป็นคำแทนชื่อของตถาคตฯ

ภิกษุ ท.! คำว่า "วิมุตโต" เป็นคำแทนชื่อของตถาคตฯ

- บาลี ปา.ที. 11/91/55. ตรัสแก่วาเสฏฐสามเณรและภารทวาชสามเณร ณ ที่บุพพาราม.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง