[Font : 15 ]
| |
ประการที่ 2 |  

ภิกษุ ท.! ถ้าแม้ภิกษุนั้น ละนิมิตรนั้นแล้ว กระทำในใจซึ่งนิมิตอื่นอันประกอบด้วยกุศลอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาป ซึ่งประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้างด้วยโทสะบ้าง โมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้น พึงเข้าไปใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้น ว่า “ วิตกเหล่านี้ เป็นอกุศล” ดังนี้บ้าง.” วิตกเหล่านี้ ประกอบไปด้วยโทษ” ดังนี้บ้าง “วิกตกเหล่านี้ มีทุกข์เป็นวิบาก” ดังนี้บ้าง เมื่อภิกษุนั้นใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่ม ชอบการประดับตกแต่ง เมื่อถูกเขาเอาซากงู ซากสุนัข หรือซากคน มาแขวนเข้าที่คอ ก็จะรู้สึกอึดอัด ระอา ขยะแขยง นี้ฉันใด; ภิกษุ ท.! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้นอึดอัด ระอา ขยะแขยง ต่อโทษของอกุศลวิตกอยู่).


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง