[Font : 15 ]
| |
ผู้พิชิตสงครามถึงที่สุดแล้ว (อีกนัยหนึ่ง) |  

ภิกษุ ท.! นักรบอาชีพบางประเภท ถือดาบและโล่ สอดใส่ธนูและแล่ง เข้าสู่สงครามอันประชิดแล้ว. เข้าสู้ผจญการสงครามนั้น เป็นผู้มีชัยชนะในสงคราม แล้วเข้ายึดครองสนามรบไว้ได้ นักรบ อาชีพบางประเภทในกรณีนี้เป็นเช่นนี้ เป้นนักรบอาชีพประเภทที่ 5016.3 มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก...

ภิกษุ ท.! นักบวชเปรียบด้วยนักรบอาชีพชนิดนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุหาได้ในหมู่ภิกษุเหมือนกัน. ในกรณีนี้คือ ภิกษุเข้าไปอาศัยหมู่บ้านรหือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่. เวลาเช้า เธอครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือนิคมนั้น เพื่อบิณฑบาต. ด้วยการรักษากาย, รักษาวาจา, รักษาจิต, ตั้งสติไว้มั่น, และด้วยการสำรวมอันิทรีย์ทั้งหลาย, เธอได้เห็นรูปด้วยตา, ได้ฟังเสียงด้วยหู, ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก, ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น, ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย และไม่แยกถือเอาเป็นส่วนๆ สิ่งที่เป็นอกุศลลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส มักไหลไปตามภิกษุผู้ไม่สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเพราะการไม่สำรวจอินทรย์ใดเป็นเหตุ, เธอก็ปฏิบัติเเพื่อปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้, เธอรักษาและถึงความสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.

ภิกษุนั้น ภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตรแล้ว ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัดเงียบ คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ลำธาร ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง). เธออยู่ป่า หรืออยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง ยอ่มนั่งคู้ขาเข้าเป็นบัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า. เธอละอภิชฌาในโลก ---ฯลฯ---ฯลฯ--- ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ 5ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตและทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ ได้แล้ว, เพราะสงัดจากกามทั้งหลาย ---ฯลฯ--- บรรลุฌานที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 แล้วแลอยู่.

เธอครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้ ถึงความไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขญาณ. เธอ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์; และย่อมรู้ขัดตามที่เป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ, นี้เหตุให้เกิดอาสวะ, นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, เมื่อรู้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นทั้งจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ; ครั้นจิตหลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณว่า หลุดพ้นแล้ว, เธอย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีกแล้ว" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! เปรียบหมือนกับนักรบอาชีพผู้นั้น ถือดาลและโล่ สอดใส่ธนูและแล่ง เข้าสู่สงครมอันประชิดแล้ว เข้าสู้เข้าผจญการสงครามนั้น เป็นผู้มีชัยชนะในสงคราม แล้วเข้ายึดครองสนามรบไว้ได้ ฉันใด: ภิกษุ ท.! เรากล่าวนักบวชนี้ว่า มีนักรบอาชีพชนิดนั้นเป็นคู่เปรียบ ฉันนั้น. ภิกษุ ท.! นักบวชบางคนในกรณีนี้ เป็นเช่นนี้ เป็นนักบวชเปรีบด้วยนักรบอาชีพ ประเภทที่ห้า มีอยู่ในหมู่ภิกษุ หาได้ในหมู่ภิกษุ แล.

- บาลี พระพุทธภาษิต ปญฺจก. อํ. 22/113/76, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง