[Font : 15 ]
| |
ผูสนทนาถูกเรื่องที่ควรสนทนา |  

ภิกษุ ท.! พวกเธอทั้งหลาย อย่ากล่าวถ้อยคำที่ยึดถือเอาแตกต่างกันว่า "ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้, ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้, ท่านรู้จักทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่าวไร ท่านปฏิบัติผิด. ข้าพเจ้าซิปฏิบัติชอบ. คำควรกล่าวก่อนท่านกล่าวทีหลังคำควรกล่าวทีหลัง ท่านมากล่าวก่อน คำพูดของท่านจึงไม่เป็นประโยชน์ คำพูดของข้พาเจ้าเป็นประโยชน์. ข้อที่ท่านเคยถนัด มาแปรปรวนไปเสียแล้ว. ข้าพเจ้าสลัดคำพูดของท่านได้แล้ว ท่านถูกข้าพเจ้าข่มแล้ว เพื่อให้ถอนคำพูดผิดๆ นั้นเสีย หรือถ้าท่านสามารถก็จงค้านมาเถิด"; ดังนี้. พวกเธอทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวถ้อยคำเห็นปานนั้น เพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่า การกล่าวนั้นๆ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อน ต้นจองพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความกลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.

ภิกษุ ท.! เมื่อพวกเธอทั้งหลายจะกล่าว จงกล่าวว่า "ความทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ, เหตุให้เกิดทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ, ความดับสนิทแห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ, และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ" ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่า การกล่าวนั้นๆ เป็นการกล่าวประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.

ภิกษุ ท.! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ว่า "นี้ ทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ ความดับสนิทแห่งทุกข์, นี้ ข้อปฏิบัติใภ้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์" ดังนี้แล.

- บาลี พระพุทธภาษิต มหาวาร. สํ. 19/525/1662, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง