[Font : 15 ]
| |
สิ่งที่เป็นเสี้ยนหนามต่อกันโดยธรรมชาติ |  

ภิกษุ ท.! ถูกแล้ว ถูกแล้ว ตามที่มหาสาวกเหล่านั้น เมื่อพยากรณ์ก็พยากรณ์โดยชอบ. ภิกษุ ท.! เรากล่าวฌานว่า มีเสียงเป็นเสี้ยนหนาม จริง. ภิกษุ ท.! เสี้ยนหนาม 10 อย่างเหล่านี้ มีอยู่. 10 อย่างอย่างไรเล่า ? 10 อย่างคือ :-

ความยินดีในการระคนด้วยหมู่ เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้ยินดีในปวิเวก ;

การตามประกอบในสุภนิมิต เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้ตามประกอบในอสุภนิมิต ;

การดูการเล่น เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ;

การเกี่ยวข้องกับมาตุคาม เป็นเสี้ยนหนามแก่ พรหมจรรย์ ;

เสียง เป็นเสี้ยนหนามแก่ ปฐมฌาน ;

วิตกวิจาร เป็นเสี้ยนหนามแก่ ทุติยฌาน ;

ปีติ เป็นเสี้ยนหนามแก่ ตติยฌาน ;

อัสสาสะปัสสาสะ เป็นเสี้ยนหนามแก่ จตุตถฌาน ;

สัญญาและเวทนา เป็นเสี้ยนหนามแก่ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ;

ราคะ เป็นเสี้ยนหนาม โทสะ เป็นเสี้ยนหนาม.

ภิกษุ ท.! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่มีเสี้ยนหนาม อยู่เถิด. ภิกษุ ท.! พวกเธอจงเป็นผู้หมดเสี้ยนหนาม อยู่เถิด. ภิกษุ ท.! พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีเสี้ยนหนาม หมดเสี้ยนหนาม แล.

- ทสก. อํ. 24/145/72.

(หนามที่ 10 คือราคะและโทสะเป็นหนาม แต่ไม่ระบุว่าเป็นหนามแก่สิ่งใดเหมือนข้อบน ๆ ; เข้าใจว่าเป็นหนามแก่ธรรมทั่วไป. การไม่ระบุโมหะว่าเป็นหนามด้วย เข้าใจว่าเป็นเพราะโมหะไม่มีลักษณะเสียบแทงเหมือนหนาม หรือเหมือนกับราคะและโทสะ).


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง