[Font : 15 ]
| |
สมาธิ

1. พยัญชนะ : สมาธิโดยพยัญชนะ : คือ ตั้งมั่น หรือตั้งมั่นอยู่อย่างเสมอ.

2. อรรถะ : สมาธิโดยรรถะ :

2.1 เอกัคคตาจิตมีอารมณ์เดียวคือ นิพพาน.

2.2 ภาวะของจิตที่บริสุทธิ์ ตั้งมั่น ว่องไว.

2.3 การรวมกำลังของจิต.

2.4 โดยนัยอันกว้างขวางหมายถึง : ระบบของความรู้, ระบบของการปฏิบัติ ; ตัวของการปฏิบัติ, และผลที่ได้รับจากการปฏิบัติ ; อันเกี่ยวกับการทำจิตให้ตั้งมั่น เรียกรวมอยู่ในคำว่าสมาธิ.

2.5 ไม่มีการกระทำผิดในทางจิต ชนิดที่ทำจิตให้ฟุ้งซ่าน.

2.6 ภาวะของจิต มีอารมณ์เป็นหนึ่งไม่ฟุ้งซ่าน.

3. ไวพจน์ : สมาธิโดยไวพจน์ :

นัยที่ 1 : ไวพจน์ของสมาธิโดยผล หรือลักษณะ หรือโดยภาวะ : ได้แก่ สมถะ, ฌานที่เป็นการเพ็งอารมณ์, เอกัคคตาจิตA76.

นัยที่ 2 : ไวพจน์ของสมาธิโดยการปฏิบัติ : ได้แก่ สมถกัมมัฏฐาน, สมถภาวนา, สมณธรรมในขั้นที่เกี่ยวกับจิต, สมาบัติA77, สมาธิวิโมกข์A78.

4. องค์ประกอบ : สมาธิโดยองค์ประกอบ :

1. จิต.

2. อารมณ์ของจิต (สิ่งที่จิตใช้กำหนด อาจเห็นวัตถุหรือนามธรรมทั้งที่เป็นภายนอก หรือภายในก็ได้).

3. การกำหนดอารมณ์.

4. ธรรมที่ควบคุมจิตให้เกิดสมาธิ คือ สติ สัมปชัญญะ ปัญญา.

5. องค์ประกอบชั้นอุปกรณ์ : ต้องมีความเหมาะสม ; อารมณ์ของสมาธิที่เหมาะสม ; เช่น ลมหายใจ.

6. มีกัลยาณมิตรที่จะให้ความช่วยเหลือ.

7. ภาวนาที่ถูกต้องตามลำดับของการกระทำ : คือ : ปริกัมมภาวนาA79, อปจารภาวนาA80, อัปปนาภาวนาA81.

5. ลักษณะ : สมาธิโดยลักษณะ : มีลักษณะสาม :

5.1 ความบริสุทธิ์ของจิต (ปริสุทโธ).

5.2 ความตั้งมั่นของจิต (สมาหิโต).

5.3 ความควรแก่การงานของจิต (กัมมนีโย).

6.อาการ : สมาธิโดยอาการ : มีสาม :

6.1 ปราโมทย์.

6.2 เข้มแข็ง.

6.3 ปล่อยวาง (อย่างน้อยก็นิวรณ์). และมีอาการตามลักษณะที่กล่าวแล้วข้างต้น.

7. ประเภท : สมาธิโดยประเภท : แบ่งเป็นสอง : โดยการเกิด :

1. สัญชาตสมาธิ : คือสมาธิที่เกิดเองตามธรรมชาติ.

2. ภาวิตสมาธิ : คือสมาธิที่เกิดจากการกระทำของผู้ปฏิบัติ ซึ่งแบ่งได้เป็นหกรูปแบบ :

รูปแบบที่ 1 : แบ่งโดยอาการที่ปรากฏ : แยกออกได้เป็นสอง :

1. สมาธิล้วน เช่น ฌาน, สมาบัติ.

2. สมาธิที่กำลังทำงานอยู่กับปัญญา ที่เรียกว่า อนันตริยสมาธิ.

รูปแบบที่ 2 : แบ่งโดยลำดับของการปฏิบัติ : แยกออกเป็นสาม :

1.บริกรรมสมาธิA82

2. อุปจารสมาธิA83

3. อัปนาสมาธิA84

รูปแบบที่ 3 : แบ่งโดยมูลเหตุ :

1. สัมมาสมาธิ : มีวิชาเป็นมูลเหตุ.

2. มิจฉาสมาธิ : มีอวิชาเป็นมูลเหตุ.

รูปแบบที่ 4 : แบ่งโดยผลที่ได้รับ : มี 4 :

1. สามัญสมาธิ และสัมมาสมาธิ.

2. สมาธิ 3 ขั้นตอน : คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ.

3. โลกิยสมาธิ และโลกุตตรสมาธิ.

4. เจโตสมาธิ และปัญญาสมาธิ (ได้แก่ สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ).

รูปแบบที่ 5 : แบ่งโดยวัตถุ (ที่ตั้ง) ที่เป็นอารมณ์ : มีสาม :

1. รูปธรรมเป็นอารมณ์.

2. อปธรรมเป็นอารมณ์.

3. นิพพานเป็นอารมณ์ (ซึ่งเรียกว่าธัมมสมาธิ).

รูปแบบที่ 6 : แบ่งโอยอุดมคติ : มีสอง :

1. โลกิยสมาธิที่เป็นไปเผื่อวัฏฏะ : ได้แก่ รูปฌาน, อรูปฌาน ; ที่มุ่งหมายรูปภพ, อรูปภพ.

2. โลกุตตรสมาธิที่เป็นไปเพื่อวิวัฏฏะ (ออกจากวัฏฏะ) : ได้แก่ ธัมมสมาธิ ที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ (มีบริกรรมว่า เอตํ สนตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ ฯลฯ).

8. กฎเกณฑ์ : สมาธิโดยกฎเกณฑ์ :

8.1 ต้องมีจิต (ซึ้งเป็นตัวผู้กระทำ).

8.2 ต้องมาอารมณ์สำหรับจิตโดยเฉพาะ.

8.3 ต้องมีการกำหนดอารมณ์.

8.4 ต้องมุ่งสมาธิที่เป็นไปเพื่อการสิ้นอาสวะ ที่(กำหนดความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งอุปทานขันธ์).

8.5 ต้องเป็นระบบสมาธิที่ถูกต้อง ตามพระพุทธประสงค์ เช่น ระบบอานาปานสติภาวนา เป็นต้น.

9. สัจจะ : สมาธิโดยสัจจะ :

9.1 เป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา.

9.2 ทำให้เกิดความสุขในทิฏฐธรรม (ในปัจจุบัน).

9.3 การกระทำนั้นต้องมีจิต อารมณ์ของจิต การกำหนดอารมณ์.

9.4 ต้องมีการกนะทำที่ให้เกิดธรรมะใหม่ที่สูงขึ้นไป และมีการรักษาธรรมะของเก่าที่เกิดแล้ว อยู่เป็นประจำ.

10. หน้าที่ : สมาธิโดยหน้าที่ (โดยสมมติ) :

10.1 ขจัดนิวรณ์.

10.2 ทำให้เกิดวิปัสสนาปัญญา.

10.3 ทำให้เกิดความสุขสงบในปัจจุบัน.

10.3 ทำให้เกิดความสุขสงบในปัจจุบัน.

10.4 ทำให้จิตเกิดกำลังที่เหมาะสมแก่การงานของจิต.

11. อุปมา : สมาธิโดยอุปมา : เปรียบเสมือน :

11.1 เป็นสหายของกันและกันกับปัญญา.

11.2 เป็นน้ำหนักซึ่งต้องมีใช้คู่กันกับความคม เมื่อมีการตัด.

11.3 เหมือนควายตัวที่เป็นกำลัง ในคู่ควายที่ใช้ไถนา.

11.4 เหมือนการเช็ดแว่นตาที่ฝ้ามัวให้ใสกระจ่าง.

12. สมุทัย : สมาธิโดยสมุทัย :

12.1 ความเป็นประโยชน์ของสมาธิ.

12.2 จากการบีบบังคับของความทุกข์ที่เกี่ยวกับจิต อันเป็นสมาธิ.

13. อัตถังคมะ : สมาธิโดยอัตถังคมะ :

13.1 เมื่อมีนิวรณ์ กิเลสครอบงำ.

13.2 เมื่อไม่รักษาสมาธิที่ได้แล้ว หรือเลิกเกี่ยวข้องกับสมาธิ.

14. อัสสาทะ : สมาธิโดยอัสสาทะ :

14.1 ความสุขสงบเย็น หรือเป็นไปเพื่อความสงบ.

14.2 ความเชื่อว่าจะได้อุบัติในภพตามชื่อของสมาธินั้น.

14.3 บางพวกมีการได้ปาฏิหาริย์ตามที่ประสงค์ เป็นอัสสาทะของสมาธิ.

15. อาทีนวะ : สมาธิโดยอาทีนวะ :

15.1 มีเฉพาะผู้หลงติด หรือนำไปใช้อย่างผิดๆ.

15.2 เมื่อมีการยึดมั่นสมาธินั้นๆ ด้วยอุปาทาน.

16. นิสสรณะ : สมาธิโดยนิสสรณะ : นิสสรณะไม่มีแก่สมาธิ ; เพราะสมาธิไม่มีหน้าที่ที่จะออกจากสิ่งใด. แต่ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องใช้สมาธิเป็นนิสสรณะอย่างหนึ่ง เพื่อการออกจากทุกข์.

17. ทางปฏิบัติ : สมาธิในทางปฏิบัติ :

17.1 ความถูกต้องพร้อมเพรียงของอุปกรณ์ของสมาธิ เช่น มีศีลสมบูรณ์, มีสัปปายธรรม (สถานที่เหมาะสม, คบหาสัตบุรุษ).

17.2 กำหนดจิตอยู่ที่อารมณ์ที่เกื้อกูลแก่การเป็นสมาธิ.

17.3 ควบคุมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เกิดอาการที่เป็นข้าศึกแก่ความเป็นสมาธิ.

18. อานิสงส์ : สมาธิโดยอานิสงส์ :

18.1 ทำให้เกิดยถาภูตณาณทัสสนะ ; เห็นสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง; เป็นบาทฐานของปัญญา แล้วจะเห็นอนิจจัง, ทุกขัง,อนัตตา.

18.2 ทำให้สมบูรณ์ด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์A85 ซึ่งช่วยให้ง่ายในการที่จะบรรลุ มรรค ผล นิพพาน.

18.3 ทำให้เกิดสุขสงบเย็นในทิฏฐธรรมนี้.

18.4 ทำให้เกิดปัญญาและธรรมะอื่นๆ ที่อยู่ในอำนาจของปัญญา เช่น ศีล เป็นต้น.

18.5 ช่วยควบคุมการเกิดแห่งตัวตน เมื่อสมาธินั้นอยู่ในรูปของวิริยะ สติ สัมปชัญญะ.

18.6 มีอานิสงค์ตามชนิดของสมาธิ :

1. ฌาน : ทำให้เกิดความสุขในปัจจุบัน.

2. อาโลกสัญญา : ทำให้เกิดอำนาจทิพย์ เช่น หูทิพย์ ตาทิพย์.

3. อนุสสติภาวนา : ที่เป็นไปเพื่อความสมบูรณ์แห่งสติ สัมปชัญญะ.

4. สมาธิภาวนาที่กำหนดการเกิด - ดับของอุปทานขันธ์ ซึ่งมีผลมทำให้สิ้นอาสวะ.

18.7 ช่วยให้มีการเป็นอยู่อย่างมีชีวิตเย็น เช่น เป็นอยู่โดยปราศจากการรบกวนของนิวรณ์ และอุปกิเลสอื่นๆ.

18.8 ใช้เป็นอุปกรณ์ของการพัฒนาจิต.

18.9 นำไปใช้ประโยชน์ได้ในทุกกิจการ ทุกแขนงงานของมนุษย์ ; แม้ในทางโลก.

18.10 ประโยชน์ของสมาธิ อาจนำไปใช้ในหน้าที่การงานของมนุษย์แห่งยุคปัจจุบัน :

1.จิตบริสุทธิ์ ก็ไม่ทำคอรัปชั่น ไม่เห็นแก่ตัว.

2. จิตใจตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ทนต่อการยั่วยวนของสิ่งที่ชักจูงจิตไปสู่ทุจริตหรืออคติ.

3. จิตว่องไวในหน้าที่การงาน ช่วยให้ทำหน้าที่ทุกอย่างสำเร็จได้ดีที่สุด, โดยง่าย และรวดเร็ว.

19. หนทางถลำ : สมาธิโดยหนทางถลำ : เข้าไปสู่ความมีสมาธิ :

19.1 สร้างอารมณ์สงบเย็น กล่อมเกลาชีวิตไว้เป็นประจำ.

19.2 อยู่ในสิ่งแวดล้อมอันสงบสงัด.

20. สิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : สมาธิโดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง :

20.1 สัปปายธรรม : เช่นมีความเหมาะสมทางกาย สถานที่ กัลยาณมิตร ฯลฯ

20.2 ปัญญา : คือสัมมาทิฏฐิ รู้ประโยชน์ของสมาธิ.

20.3 ศีล : คือความถูกต้องทางวัตถุ ปัจจัย ทางกายและทางวาจา ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการดำรงชีวิต.

21. ภาษาคน - ภาษาธรรม : สมาธิโดยภาษาคน - ภาษาธรรม :

ภาษาคน : ของคนทั่วไปหมายถึง : การนั่งหลับตานิ่งๆ เงียบๆ ไม่คิดนึกอะไร ตามที่เข้าใจกันโดยมาก.

ภาษาธรรม : 1. ความหมายที่ถือเป็นมาตรฐานทั่วไป : คือ ความมีจิตบริสุทธิ์, ความมี จิตตั้งมั่น, ความมีจิตว่องไวในหน้าที่การงาน.

2. ความหมายชั้นลึก : คือ เอกัคคตาจิตที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์.

ธรรมโฆษณ์แนะนำให้อ่าน

1. ธรรมศาสตรา เล่ม 1

2. ธรรมะเล่มน้อย

3. บรมธรรม ภาคปลาย

4. สมถวิปัสนาแห่งยุคปรมณู

5. สันติภาพของโลก

6. อานาปาสติภาวนา

7. โอสาเรตัพพธรรม


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง