[Font : 15 ]
| |
ธรรมที่สมควรแก่การหลุดพ้นจากทุกข์ |  

ภิกษุ ท.! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรสมควรแก่ธรรม ธรรมนั้นคือข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป, เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่าย ในเวทนา, เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสัญญา, เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสังขาร, เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่าย ในวิญญาณ; ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูปในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ, ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ : เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป เวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณแล้ว, ย่อม หลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ, ย่อมพ้นได้จาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ; เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.

- ขนฺธ. สํ. 17/50/83.

ภิกษุ ท.! ธรรมนี้เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือข้อที่ภิกษุเป็นผู้ ตามเห็นความไม่เที่ยงในรูป อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง ในเวทนา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง ในสัญญา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง ในสังขาร อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ; ภิกษุนั้นเมื่อตามเห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ, ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนาซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ. เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ, ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ, ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ; เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.

- ขนฺธ. สํ. 17/51/84.

ภิกษุุ ท.! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือข้อที่ภิกษุเป็นผู้ ตามเห็นความเป็นทุกข์ในรูป อยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็นประจำ , เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ในสังขาร อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ; ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ, ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ. เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ, ย่อมหลุดพ้นจากรูป จาเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ, ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ; เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.

- ขนฺธ. สํ. 17/51/85.

ภิกษุุ ท.! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ ตามเห็นความเป็นอนัตตาในรูป อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตา ในเวทนา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตา ในสัญญา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตา ในสังขาร อยู่เป็นประจำ, เป็นตามเห็นความเป็นอนัตตา ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ; ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ, ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ, เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ, ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ, ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ; เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.

- ขนฺธ. สํ. 17/52/86.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง