[Font : 15 ]
| |
ตอน 13 อานาปานสติ ขั้นที่ 9 การรู้พร้อมซึ่งจิต

ตอน สิบสาม

อานาปานสติ ขั้นที่ เก้า

(การรู้พร้อมซึ่งจิต)

อุทเทสแห่งอานาปานสติข้อที่หนึ่งแห่งจตุกกะที่สาม หรือจัดเป็นอานาปานสติข้อที่เก้าแห่งอานาปานสติทั้งหมดนั้น มีว่า “ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจออก ดังนี้”. ANP46

ใจความสำคัญ ที่จะต้องศึกษามีอยู่เป็นหัวข้อใหญ่ๆ คือ 1. คำว่าย่อมทำในบทศึกษา ; 2. คำว่า เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต ; 3. ญาณและสติพร้อมทั้งธรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นโดยสมควรแก่การปฏิบัติ ; มีคำอธิบายโดยละเอียดดังต่อไปนี้ :-

คำว่า "ย่อมทำในบทศึกษา" คำนี้ มีคำอธิบายเหมือนกันทุกขั้นของอานาปานสติ โดยใจความทั่วไปก็คือ ขณะที่กำหนดอารมณ์ของอานาปานสติอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ย่อมไม่มีโทษเกิดขึ้นทางกายหรือทางวาจา และเป็นการสำรวมเป็นอย่างดี ชนิดที่เป็นศีลอยู่ในตัว ; นี้ชื่อว่าสีลสิกขาของผู้นั้นในขณะนั้น. ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิตในขณะที่ทำอานาปานสติอยู่ชื่อว่าจิตตสิกขาของผู้นั้นในขณะนั้น. การพิจารณาอารมณ์ของอานาปานสติ กล่าวคือ กายเวทนา และจิต เป็นต้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นต้น นั้นชื่อว่าเป็นปัญญาสิกขาของผู้นั้นในขณะนั้น, เมื่อเป็นดังนี้ เป็นอันกล่าวได้ว่าในขณะนั้น ผู้นั้นย่อมทำสมบูรณ์ในสิกขาทั้ง 3 อยู่แล้วในตัว. ส่วนที่เป็นเฉพาะกรณีนั้น


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ