[Font : 15 ]
| |
วิชชา

1. พยัญชนะ : วิชชาโดยพยัญชนะ : คือ ความรู้ถูกต้อง แจ่มแจ้ง วิเศษ (คือดับทุกข์ได้).

2. อรรถะ : วิชชาโดยอรรถะ : คือ ความรู้ในสิ่งที่ควรรู้ : คือ รู้แล้วปฏิบัติได้ ดับทุกข์ได้.

3. ไวพจน์ : วิชชาโดยไวพจน์ : คือ ปัญญา, ญาณ, แสงสว่าง, จักษุ, ปัสสนา ฯลฯ

4. องค์ประกอบ : วิชชาโดยองค์ประกอบ :

1. ความเป็นสิ่งที่อาจรู้หรือเข้าใจได้.

2. ความเป็นสิ่งที่อาจปฏิบัติได้ไม่เหลือวิสัย.

3. ความมีเหตุผลแสดงอยู่ในตัว.

4. ความมีปาฏิหาริย์A58 คือแสดงผลดีที่จะได้รับอยู่ในตัว.

5. ความที่เมื่อปฏิบัติแล้วดับทุกข์ได้จริงแสดงอยู่.

5. ลักษณะ : วิชชาโดยลักษณะ : มีลักษณะ :

5.1 แห่งความรอบรู้.

5.2 แห่งการส่องแสงกำจัดความมืด.

5.3 แห่งความเป็นไปเพื่อโพธิและนิพพาน.

6. อาการ : วิชชาโดยอาการ : มีอาการ :

6.1 ส่งหนทางที่จะดำเนินไป.

6.2 นำสัตว์ออกจากกองทุกข์.

6.3 แห่งการกำจัดความมืด.

6.4 เป็นปฏิปักษ์ต่ออวิชชา.

7. ประเภท : วิชชาโดยประเภท :

7.1 แบ่งโดยประเภทหนึ่ง : คือ รู้ปฏิจจสมุปบาท.

7.2 แบ่งโดยประเภทสอง :

1. วิชชาธาตุตามธรรมชาติที่สัญชาตญาณจะมีให้.

2. วิชชาธาตุที่ได้รับการอบรมเป็นภาวิตญาณ.

7.3 แบ่งโดยประเภทสาม :

นัยที่ 1 :

1. รู้อดีต.

2. รู้อนาคต.

3. รู้ทั้งอดีตและอนาคต.

นัยที่ 2 :

1. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ: คือ ระลึกได้ถึงอุปาทานขันธ์ ; หมายถึงการเกิดดับของอุปาทานว่าตัวตนในวันหนึ่งๆ ถอยหลังตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุด. แต่ยังมีอีกนัยหนึ่งซึ่งถือกันโดยทั่วๆ ไป: ได้แก่การระลึกถึงขันธ์ที่เคยมีภพก่อน คือ การระลึกชาติก่อนๆ ได้.

2. จุตูปปาตญาณ : ญาณคือเครื่องรู้ซึ่งจุติและอุปัตติของสัตว์ทั้งหลาย.

3. อาสวักขยญาณ : ญาณรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะ.

7.4 แบ่งโดยประเภทสี่ : คือ รู้อริยสัจจ 4 :

1. รู้ทุกข์.

2. รู้เหตุแห่งทุกข์.

3. รู้ความดับทุกข์.

4. รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์.

8. กฎเกณฑ์ : วิชชาโดยกฎเกณฑ์ :

8.1 ต้องเป็นความรู้ที่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ (รู้อริยสัจ).

8.2 ต้องเป็นความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติ (มิใช่เพียงแต่เล่าเรียน).

8.3 ต้องเป็นความรู้ที่ท้าทายต่อการพิสูจน์.

8.4 ต้องมีความจริงของธรรมชาติเป็นวัตถุ (รากฐานที่ตั้ง).

9. สัจจะ : วิชชาโดยสัจจะ :

นัยที่ 1 : สัจจะของวิชชา :

1. ไม่มีส่วนแห่งความหลอกลวงหรือความคลุมเครือ กำกวม.

2. อยู่รวมหรือทำงานร่วมกันไม่ได้กับอวิชชา.

3. ไม่มีความดับของตัวเองในตัวเอง.

4. ทำหน้าที่ “สหรคต”A59 กับวิมุตติ.

นัยที่ 2 : สัจจะของการมีวิชชา :

1. มีความแน่นอนต่อวิมุตติและนิพพาน.

2. ความปราศจากอวิชชา.

10. หน้าที่ : วิชชาโดยหน้าที่ :

นัยที่ 1 : หน้าที่ (โดยสมมติ) ของวิชชา :

1. กำจัดความมืดคืออวิชชา.

2. จัดสรรและควบคุมความถูกต้องในธรรมทั้งปวงให้เกิดภาวะถูกต้อง : คือ สัมมา หรือสัมมัตตะA60 แล้วเป็นไปเพื่อพระนิพพาน.

นัยที่ 2 : หน้าที่ของผู้ปฏิบัติเพื่อความมีวิชชา : คือการประกอบโยคปฏิบัติในสมถะและวิปัสสนา.

11. อุปมา : วิชชาโดยอุปมา : เปรียบเสมือน :

11.1 ดวงประทีปให้แสงสว่าง.

11.2 ของมีคมตัดม่านของอวิชชาเครื่องปิดบังจิต.

11.3 เข็มทิศ.

12. สมุทัย : วิชาโดยสมุทัย :

นัยที่ 1 : โดยหลักพื้นฐานของธรรมชาติ : คือ ความเจนจัดแห่งการผ่านไปในกองทุกข์หรือแม่ในชีวิต.

นัยที่ 2 : โดยการประกอบการะทำของมนุษย์ : คือ การเจริญจิตตภาวนา หรือสมาธิภาวนา.

13. อัตถังคมะ : วิชชาโดยอัตถังคมะ : คือ

13.1 วิชชาเกิดเมื่อทำหน้าที่ วิชชาดับเมื่อเสร็จหน้าที่.

13.2 วิชชามีอัตถังคมะทุกคราวที่เสร็จหน้าที่ในกรณีนั้นๆ.

14. อัสสาทะ : วิชชาโดยอัสสาทะ : คือ วิชชาดับความลังเลสงสัยที่รบกวนจิตใจได้ทุกชนิด.

15. อาทีนวะ : วิชชาโดยอาทีนวะ : ไม่มี.

16. นิสสรณะ : วิชชาโดยนิสสรณะ : ไม่มี.

17. ทางปฏิบัติ : วิชชาโดยทางปฏิบัติ : เพื่อเข้าถึงความมีวิชชา :

นัยที่ 1 : โดยธรรมชาติ :

1. เป็นผู้เป็นอยู่ด้วยการสังเกตุ, การพิจารณา, การศึกษา ฯลฯ ไม่เป็นทาง ทางสติปัญญาของผู้ใดหรือสิ่งใดด้วยความงมงาย.

2. มีกัลยาณมิตรเป็นสัตบุรุษ, เป็นบัณฑิต, เป็นนักปราชญ์.

นัยที่ 2 : โดยการปฏิบัติเฉพาะเจาะจง : คือการเจริญสติปัฏฐาน 4 A61.

18. อานิสงส์ : วิชชาโดยอานิสงส์ :

18.1 ทำให้รู้จักทุกข์, รู้เหตุแห่งทุกข์, รู้ความดับทุกข์, รู้ทางให้พ้นทุกข์ (คือ รู้อริยสัจ 4).

18.2 ทำให้การกระทำทุกอย่างมีความถูกต้อง (เป็นสัมมา) ; เป็นไปเพื่อวิเวกA62, วิราคะA63, นิโรธะA64, โวสสัคคะA65 ก็คือนิพพานนั่นเอง.

19. หนทางถลำ : วิชชาโดยหนทางถลำ : เข้าสู่ความมีวิชชา : คือ การจัดตัวเองให้อยู่ท่ามกลางความแวดล้อมของความถูกต้อง (สัมมาวิหารธรรม) ; ที่ตรัสไว้ว่า เป็นเครื่องทำให้โลกไม่ว่างจากพระอรหันต์.

20. สิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : วิชชาโดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : ในการมีวิชชา : คือ โพธิปักขิยธรรม (ธรรมเป็นฝักฝ่ายแห่งโพธิ) ทั้งปวง.

21. ภาษาคน - ภาษาธรรม : วิชชาโดยภาษาคน - ภาษาธรรม :

21.1 ภาษาคน : ความรู้สำหรับอยู่ในโลก (เรื่องปากเรื่องท้อง).

ภาษาธรรม : ความรู้สำหรับจะไปสู่ภาวะเหนือโลก (นิพพาน).

21.2 ภาษาคน : เรียกว่า “วิชาความรู้”.

ภาษาธรรม : เรียกว่า “วิชชาความรู้แจ้งแทงตลอด”.

ธรรมโฆษณ์ที่แนะนำให้อ่าน

1. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์

2. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์

3. โมกขธรรมประยุกต์

4. อริยสัจจากพระโอษฐ์


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง