[Font : 15 ]
| |
ปลากลืนเบ็ด |  

ภิกษุ ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ดหยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนพรานเบ็ด ซัดเบ็ดที่มีเหยื่อลงไปในห้วงน้ำลึก. ปลาที่เห็นแต่จะกินเหยื่อตัวหนึ่ง ได้กลืนเบ็ดนั้นเข้าไป. ปลาที่กลืนเบ็ดตัวนั้น ย่อมได้รับทุกข์ถึงความพินาศ แล้วแต่พรานเบ็ดผู้นั้นใคร่จะทำประการใด.

ภิกษุ ท.! คำว่า "พรานเบ็ด" เป็นคำชื่อแทนคำว่า "มารผู้มีบาป" คำว่า "เบ็ด" เป็นคำชื่อ แทนคำว่า "ลาภสักการะและเสียงเยินยอ". ภิกษุ ท.! ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ยังรู้สึกอร่อย ยังติดใจในลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้น หรือดิ้นรนใคร่จะได้อยู่; ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้กลืนเบ็ดของมารจะได้รับทุกข์ถึงความพินาศ แล้วแต่มารผู้มีบาป ใคร่จะทำประการใด

ภิกษุ ท.! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ดหยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า "เราทั้งหลาย จักไม่เยื่อใยในลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้น. อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องไม่มาห่อหุ้มอยู่ที่จิตของเรา" ภิกษุ ท.! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.

- บาลี พระพุทธภาษิต นิทาน. สํ. 16/266-7/538-541.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง