[Font : 15 ]
| |
เนื้อนาบุญ เกิดจากการไม่ทำไปตามอำนาจกิเลส |  

ภิกษุ ท.! ภิกษุ เมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 อย่างแล้ว ย่อมเป้นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้นรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. องค์ประกอบ 6 อย่างอะไรบ้างเล่า? 6 อย่างคือ :-

ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้ กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยการสังวร ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วยการสังวร 1, กิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยการเสพ ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลส เหล่านั้นได้แล้วด้วย การเสพ 1, กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยการอดกลั้น ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วย การอดกลั้น 1, กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยการงดเว้น ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วยการงดเว้น 1, กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยการบรรเทา ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วยการบรรเทา 1, กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยภาวนา ภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วยภาวนา 1.

ภิกษุ ท.! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยการสังวร ซึ่งภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วยการสังวร เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวมด้วยการสังวรในอินทรีย์คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นอินทีย์ที่เมื่อภิกษุไม่สำรวมแล้ว. กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น, และเมื่อภิกษุสำรวมแล้วเป็นอยู่, กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดของแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นเพราะเมื่อภิกษุไม่สำรวม ด้วยอาการอย่างนี้, กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น, และเมื่อภิกษุสำรวมแล้วเป็นอยู่ กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อย จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุ ท.! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมอง จิตเหล่านี้แล ที่เราเรียกว่า กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต อันจะพึงละได้ด้วยการสังวร ซึ่งภิกษุนั้นละ ได้แล้วด้วยการสังวร.

ภิกษุ ท.! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยการเสพ ซึ่งภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วยการเสพ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงนุ่งห่มจีวร เพียงเพื่อบำบัดความหนาว, เพื่อบำบัดความร้อน, เพื่อบำบัดสัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย, เพื่อเพื่อปกปิดอวัยวะที่ให้ความอายกำเริบ; เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงบริโภคบิณฑบาต ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง, แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกันความลำบาก เพื่อนุเคราะห์พรหมจรรย์, ด้วยคิดว่าเราจักกำจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสีย แล้วไม่ทำเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น. ความที่อยู่ดำเนินไปได้, ความไม่มีโทษเพราะอาหาร, และความอยู่ผาสุกสำราญจักมีแก่เรา ; เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยเสนาสนะ เพียงเพื่อบำบัดความหนาว, เพื่อบำบัดความร้อน, เพื่อบำบัดสัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย, เพียงเพื่อบันเทาอันตรายแต่ฤดู และเพื่อความเป็นผู้ยินดีในการหลีกเร้นอยู่; เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงบริโภคหยุกยาซึ่งเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่คนไข้ เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนาอันเกิดจากอาพาธต่าง ๆ และเพียงเพื่อความเป็นผู้ไม่ต้องทนทุกข์เป็นอย่างยิ่ง. ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นเพราะ เมื่อภิกษุไม่พิจารณาแล้วเสพ ด้วยอาการอย่านี้, กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น, และเมื่อภิกษุพิจารณาแล้วจึงเสพอยู่ กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุ ท.! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่านี้แล ที่เราเรียกว่า กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต อันจะพึงละได้ด้วยการเสพ ซึ่งภิกษุนั้นละได้แล้วด้วยการเสพ.

ภิกษุ ท.! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยการอดกลั้น ซึ่งภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วยการอดกลั้น เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ต่อความร้อน, เป็นผู้อดทนตอ่ความหิว ต่อความระหาย, เป็นผู้อดทนต่อสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานทั้งหลาย, เป็นผู้มีชาติแห่งบุคคลผู้อดกลั้นต่อคลองแห่งถ้อยคำอันหยาบคาย อันว่าร้าย, และเป็นผู้อดกลั้นต่อทุกขเวทยาในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้ว อย่างกล้าแข็ง แสบเผ็ด ขมขื่น ไม่เป็นที่สบายใจ หรือจวนจะถึงแก่ชีวิตได้. ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นเพราะ เมื่อภิกษุไม่อดกลั้น อดทนด้วยอาการอย่างนี้, กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น, และเมื่อภิกษุอดกลั้นอดทนอยู่ กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุ ท.! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่านี้แล ที่เราเรียกว่า กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตอันจะพึงละได้ด้วยการอดกลั้น ซึ่งภิกษุนั้นละได้แล้วด้วย การอดกลั้น.

ภิกษุ ท.! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยการงดเว้น ซึ่งภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วยการงดเว้น เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมงดเว้นจากช้างดุ, ม้าดุ, โคดุ, สุนัขดุ; งู หลักตอ ขวากหนาม ห้วยเหว บ่อของโสโครก หลุมอุจจาระ024.1, และงดเว้นที่ที่ไม่ควรนั่ง ที่ไม่ควรไป และการคบพวกเพื่อนที่ลามก อันวิญญูชน เพื่อพรหมจรรย์ด้วยกันทั้งหลาย จัดไว้ในฐานะที่ต่ำทราม; ภิกษุนั้นพิจารณาโดยแยบคายแล้วย่อมงดเว้นที่ ที่ไม่ควรนั้ง ที่ไม่ควรไปนั้นๆ เสีย และย่อมงดเว้นพวกเพื่อนที่ลามกเหล่านั้นเสียโดยสิ้นเชิง. ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นเพราะเมื่อภิกษุไม่งดเว้น ด้วยอาการอย่างวนี้, กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น, และเมื่อภิกษุงดเว้นอยู่ กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุ นั้น ภิกษุ ท.! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่านี้แล ที่เราเรียกว่า กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตอันจะพึงละได้ด้วยการงดเว้น ซึ่งภิกษุนั้นละได้แล้วด้วยการงดเว้น.

ภิกษุ ท.! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยการบรรเทา ซึ่งภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วย การบรรเทา เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมไม่รับเอาไว้ในใจ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นสุด ย่อมทำให้ถึงความมีไม่ได้ ซึ่งกามวิตก, พยาบาทวิตก, วิหิงสาวิตก อันบังเกิดขึ้นแล้ว; และย่อมไม่รับเอาไว้ในใจ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นสุด ย่อมทำให้ถึงความมีไม่ได้ ซึ่งมีไม่ได้ ซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศลลามกทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท.! ข้อนี้ เป็นเพราะ เมื่อภิกษุไม่บรรเทา ด้วยอาการอย่างนี้, กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น, และเมื่อภิกษุบรรเทาอยู่ กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหบาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุ ท.! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมอง จิตเหล่านั้นแล ที่เราเรียกว่า กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตอันจะพึงละได้ด้วยการบรรเทา ซึ่งภิกษุนั้นละได้แล้วด้วยการบรรเทา.

ภิกษุ ท.! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่าใด จะพึงละได้ด้วยภาวะนา ซึ่งภิกษุก็เป็นผู้ละกิเลสเหล่านั้นได้แล้วด้วยภาวนา เป็นอย่างไคเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมอบรมสติสัมโพชฌงค์, ย่อมอบรมธัมมวิจยสัมโพชฌงค์, ย่อมอบรมวิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมอบรมปีติสัมโพชฌงค์, ย่อมอบรมปัสสัทธิสัมโพชฌงค์, ย่อมอบรมสมาธิสัมโพชฌงค์, ย่อมอบรมอุเปกขาสัมโพชฌงค์, อัน (แต่ละอย่างๆ) ย่อมอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโระ และน้อมไปเพื่อความปล่อย. ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นเพราะ เมื่อภิกษุไม่ภาวนา ด้วยอาการอย่างนี้, กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น, และเมื่อภิกษุภาวนาอยู่ กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหบาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุ ท.! กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเหล่านี้แล ที่เราเรียกว่า กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตอันจะพึงละได้ ด้วยภาวนา ซึ่งภิกษุนั้นละได้แล้วด้วยภาวนา.

ภิกษุ ท.! ภิกษุ เมื่อประกอบด้วยองค์ประกอบ ุ6 อย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

- บาลี พระพุทธภาษิต ฉกฺก.อํ. 22/432/329, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง