[Font : 15 ]
| |
: เกี่ยวกับ "เหมือนกัน" หรือ "ต่างกัน" |  

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! สิ่งทั้งปวง มีอยู่หรือ?"

พราหมณ์! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฎฐิว่า "สิ่งทั้งปวง มีอยู่" ดังนี้ : นี้ เป็นลัทธิโลกายตะชั้นสุดยอด.

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ก็สิ่งทั้งปวง ไม่มีอยู่หรือ?"

พราหมณ์! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฎฐิว่า "สิ่งทั้งปวง ไม่มีอยู่" ดังนี้ : นี้ เป็นลัทธิโลกายตะอย่างที่ 2.

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! สิ่งทั้งปวงมีสภาพเป็นอย่าเดียวกันหรือ?"

พราหมณ์! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฎฐิว่า "สิ่งทั้งปวง มีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน" ดังนี้ : นี้ เป็นลัทธิโลกายตะอย่างที่ 3.

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ก็สิ่งทั้งปวง มีสภาพต่างกันหรือ?"

พราหมณ์! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฎฐิว่า "สิ่งทั้งปวง มีสภาพต่างกัน" ดังนี้ : นี้เป็นลัทธิโลกายตะอย่างที่ 4.

พราหมณ์! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น. .... (ต่อจากนี้ ทรงแสดงกระแสแห่งปฎิจจสมุปบาท ซึ่งทำให้กล่าวไม่ได้ว่า สิ่งใดมีตัวของมันเองโดยเด็ดขาด จนนำไปเปรียบกับสิ่งอื่นได้ว่าเหมือนกัน หรือต่างกัน).

- บาลี นิทาน. สํ. 16/92/176. ตรัสแก่โลกายติกพราหมณ์ ที่เชตวัน.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง