[Font : 15 ]
| |
สติ

1. พยัญชนะ : สติโดยพยัญชนะ : คือ แล่นไปเร็ว.

2. อรรถะ : สติโดยอรรถะ : คือ ความระลึกได้เร็วหรือทันเวลา ในการนำมาซึ่งปัญญา.

3. ไวพจน์ : สติโดยไวพจน์ : คือ อัปปมาท, ชาครธรรม.

4. องค์ประกอบ : สติโดยองค์ประกอบ :

1. ความรู้จัก และกลัวต่อความทุกข์.

2. ความรู้จักละอาย.

3. ความเข็ดหลาบ.

4. ความเชื่อฟังและความเคร่งครัดต่อระเบียบ.

5. ลักษณะ : สติโดยลักษณะ : มีลักษณะ :

5.1 แห่งเจติกธรรม เครื่องประกอบจิต.

5.2 แห่งผู้เฝ้า, ผู้ระวัง, ผู้รักษา, ผู้คุ้มครอง.

5.3 แห่งการตื่น, ไม่หลับ, ไม่เผลอ.

6. อาการ : สติโดยอาการ : มีอาการ :

6.1 แห่งการขนส่งปัญญาอย่างทันเวลา.

6.2 คัดเลือกและใช้ปัญญาให้ถูกแก่กรณี.

7. ประเภท : สติโดยประะเภท :

7.1 จำแนกโดยประเภทสอง : ตามอาการหรือหน้าที่ มี 6 คู่ :

คู่ที่ 1 :

1. สัมมาสติ.

2. มิจฉาสติ.

คู่ที่ 2 :

1. สติตามธรรมดา.

2. สติที่เป็นองค์แห่งมรรค : คือสติที่เป็นไปเพื่อวิเวก - วิราคะ - นิโรธะ - โวสสัคคะ.

คู่ที่ 3 :

1. สติที่เกิดก่อนการกระทำ.

2. สติที่เกิดขณะกระทำเพื่อควบคุมการกระทำ.

คู่ที่ 4 :

1. สติที่เป็นไปในอารมณ์ภายนอก.

2. สติที่เป็นไปในอารมณ์ภายใน.

คู่ที่ 5 :

1. สติเมื่อทำหน้าที่ตามกำลังของสติเอง.

2. สติเมื่อทำหน้าที่ร่วมกับธรรมอื่น.

คู่ที่ 6 :

1. สติที่เป็นไปในหน้าที่แห่งการระลึก.

2. สติที่เป็นไปในหน้าที่แห่งการรักษาหรือปิดกั้น.

7.2 จำแนกตามฐานที่ตั้ง : มี 4 ประเภท : คือ สติเป็นไปทางกาย, ทางเวทนา, ทางจิต และทางธรรม; ที่เรียกว่าสติปัฏฐาน 4.

7.3 จำแนกตามอารมณ์เป็นเครื่องติดตามกำหนด : มี 10 : คือ พุทธานุสติ, ธรรมมานุสติ, สังฆานุสติ, สีลานุสติ, จาคานุสติ, เทวตานุสติ, มรณานุสติ, กายยคตานุสติ, อานาปานสติ, อุปสมานุสติA72.

8. กฏเกณฑ์ : สติโดยกฏเกณฑ์ :

8.1 ต้องทำหน้าที่ร่วมกับปัญญาที่แยกกันไม่ได้ ; ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและสุดท้าย.

8.2 เป็นสิ่งที่ต้องใช้ทุกกรณี และทุกกาละเทศะ.

8.3 ทำให้เกิดการเป็นพระอรหันต์ เมื่อสติถึงความสมบูรณ์.

9.สัจจะ : สติโดยสัจจะ :

9.1 ความสมบูรณ์แห่งสติ คือความรอดปลอดภัยของชีวิต.

9.2 สติเป็นเครื่องหยุดแกระแสแห่งกิเลส เพื่อให้โอกาสแก่ปัญญาในการทำลายกิเลส.

10. หน้าที่ : สติโดยหน้าที่ (โดยสมมติ) :

10.1 สติมีหน้าที่ระลึก และประมวลมาซึ่งธรรมทั้งหลาย; เพื่อการคัดเลือก และใช้ให้ถูกต้องตามหน้าที่.

10.2 สติมีหน้าที่กำหนดอารมณ์ ; ทั้งในฝ่ายของสมาธิและปัญญา.

11. อุปมา : สติโดยอุปมา : เปรียบเสมือน :

11.1 ผู้เฝ้า, ผู้พิทักษ์, ผู้คุ้มครอง.

11.2 เครื่องขนส่งของปัญญา.

11.3 ความเร็วของสายฟ้า.

11.4 คลื่นวิทยุ ; ทั้งในลักษณะของคลื่นพา และคลื่นเสียง.

11.5 เสือในขณะซุ่มตัวคอยจับสัตว์อยู่ในป่า.

11.6 สารถีแห่งอัตภาพของชีวิต.

12. สมุทัย : สติโดยสมุทัย :

12.1 สมุทัยโดยตรง : คือ ความกลัวต่อความทุกข์ แล้วระวังอยู่.

12.2 สมุทัยโดยอ้อม : คือ ความละอายต่อความชั่ว แล้วระวังอยู่.

12.3 ความไม่ประมาทในธรรมทั้งปวง.

12.4 มีปัจจัยสำหรับสนับสนุน คือ สมาธิ.

13. อัตถังคมะ : สติโดยอัตถังคมะ :

13.1 ความหลงลืม ความเผลอ.

13.2 ความพ่ายแพ้ต่อความยั่วยวน.

13.3 ขาดการสำรวมระวัง.

13.4 เมื่อความประมาทครอบงำ.

14 อัสสาทะ :สติโดยอัสสาทะ : คือ ความพอใจเมื่อได้รับผลของความไม่เผอเรอ พลั้งพลาดขาดสติ.

15. อาทีนวะ : สติโดยอาทีนวะ : อาทีนวะของสติไม่มี มีแต่ของการขาดสติ :

15.1 ความทุกข์, ความเสื่อมเสีย, ความสูญเสีย หรือถึงกับความตาย.

15.2 ความหมดสมรรถนะของการเป็นผู้คุ้มครองรักษาในด้านของวัตถุและจิตใจ.

15.3 หมดหวังความก้าวหน้าไปตามทางของพระนิพพาน เพราะขาดสติปัฏฐานทั้ง 4.

15.4 ไม่สามารถนำออกซึ่งอภิฌาA73 และโทมนัสA74 ในโลกจากจิตใจ (ความไม่อยู่เหนืออิทธิพลของความเป็นบวกและลบของสิ่งทั้งปวง) .

16. นิสสรณะ : สติโดยนิสสรณะ : นิสสรณะออกจากสติไม่มี: มีแต่นิสสรณะจากโทษของการขาดสติ :

16.1 อริยอัฏฐังคิกมรรค.

16.2 ความไม่ประมาทในธรรมทั้งปวง.

17. ทางปฏิบัติ : สติโดยทางปฏิบัติ : เข้าสู่ความมีสติ :

17.1 สติปัฏฐาน 4 หรือ อานาปานสติ.

17.2 ความสมบูรณ์แห่งสติในขณะแห่งผัสสะ.

17.3 เห็นโลกโดยความเป็นของว่างจากอัตตาหริอัตตานียาA75 อยู่เป็นประจำ.

17.4 มีนิพพานเป็นอารมณ์ อยู่ทุกอิริยาบถ.

17.5 รู้สึกตัวสมบูรณ์ทั่วถึงก่อนการเคลื่อนไหว หรือการกระทำใดๆ เพื่อป้องกันการหลงลืม.

18. อานิสงส์ : สติโดยอานิสงส์ :

18.1 สกัดกั้นกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ไม่ให้ลุกลามไปจนเกิดทุกข์.

18.2 ไม่มีการกระทำใดๆ ที่เป็นเหตุให้ต้องเสียใจ.

18.3 สติเป็นเครื่องคุ้มครองศรัทธา, ทิฏฐิ และวิริยะ ไม่ให้เฉออกนอกทาง ; และเป็นเครื่องเรียกมาให้ทันเวลา ; ซึ่งสมาธิ,ปัญญา, หิริ, โอตตัปปะ, ขันติ จาคะ เป็นต้น.

18.4 ป้องกันและควบคุมการเกิดแห่งกิเลส, ตัณหา, อุปาทาน ได้แน่นอน.

18.5 สติเมื่อสมบูรณ์ถึงที่สุด ทำให้รู้วินาทีที่จะดับจิต.

19. หนทางถลำ : สติโดยหนทางถลำ : เข้าไปสู่ความมีสติ :

19.1 ความเป็นอยู่อย่างวิเวก, สันโดษ, เรียบง่าย.

19.2 ความมีหิริโอตตัปปะอยู่เป็นพื้นฐานของชีวิต.

19.3 การเห็นภัยในวัฏฏสงสารอยู่เป็นประจำ.

19.4 มีกัลยาณมิตรคอยตักเตือน.

20. สิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : สติโดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง :

20.1 ขันติธรรมที่เพียงพอ.

20.2 สติแห่งความจดจำที่เข้มแข็งและเพียงพอ.

21. ภาษาคน - ภาษาธรรม : สติโดยภาษาคน - ภาษาธรรม :

ภาษาคน : ความไม่สะเพร่า เลินเล่อ.

ภาษาธรรม : ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ด้วยอำนาจของปัญญาต่ออารมณ์ทั้งปวง.

ธรรมโฆษณ์ที่แนะนำให้อ่าน

1. ธรรมปาฏิโมกข์ เล่ม 2

2. พระพุทธคุณบรรยาย

3. โมกขธรรมประยุกต์

4. อริยสัจจากพระโอษฐ์


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง