[Font : 15 ]
| |
สิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท

สิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทPTC02

ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ให้ตั้งใจฟังแล้ว ได้ตรัสข้อความเหล่านี้ว่า : -

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง ปฏิจจสมุปบาท แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟัง ปฏิจจสมุปบาท นั้น, จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์, เราจักกล่าว บัดนี้”.

ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ว่า : -

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่า ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! :

เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย ;

เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ ;

เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป ;

เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ ;

เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ ;

เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา ;

เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา ;

เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน ;

เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ ;

เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ ;

เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเวทะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร ;

เพราะมีความดับ แห่งสังขาร จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ ;

เพราะมีความดับ แห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่งนามรูป ;

เพราะมีความดับ แห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่งสฬายตนะ ;

เพราะมีความดับ แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ ;

เพราะมีความดับ แห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา ;

เพราะมีความดับ แห่งเวทนา จึงมีความดับ แห่งตัณหา ;

เพราะมีความดับ แห่งตัณหา จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน ;

เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ ; เ

เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ ;

เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้” , ดังนี้.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ