[Font : 15 ]
| |
ละราคะโทสะโมหะ ก่อนและชาติชรามรณะ |  

ภิกษุ ท .! บุคคล เมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คือ ราค 1 โทสะ 1 โมหะ 1 ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ ชาติ 1 ชรา 1 มรณะ 1.

ภิกษุ ท.! บุคคล เมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คือ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่ากายของตน) 1 วิจิกิจฉา (ความลังเลในธรรมที่ไม่ควรลังเล) 1 สีลัพพัตตปรามาส (การลูบคลำ ศีลและวัตรอย่างปราศจากเหตุผล) 1 ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ ราคะ 1 โทสะ 1 โมหะ 1.

ภิกษุ ท.! บุคคล เมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คือ อโยนิโสมนสิการ (ความทำในใจไม่แยบคาย) 1 กุมมัคคเสวนา (การพัวพันอยู่ในทิฏฐิอันชั่ว) 1 เจตโสลีนัตตา (ความมีจิตหดหู่) 1 ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ สักกายทิฏฐิ 1 จิกิจฉา 1 สีลัพพัตตปรามาส 1.

ภิกษุ ท.! บุคคล เมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คือ มุฏฐสัจจะ (ความมีสติอันลืมหลง) 1 อสัมปชัญญะ (ความปราศจากสัปชัญญะ) 1 เจตโสวิกเขปะ (ความส่ายแห่งจิต) 1 ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อโยนิโสมนสิการ 1 กุมมัคคเสวนา 1 เจตโสลีนัตตา 1.

ภิกษุ ท.! บุคคลเมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คือ อริยานังอทัสสนกกัมยตา (ความไม่อยากเห็นพระอริยเจ้า) 1 อริยธัมมังอโสตุกัมยตา (ความไม่อยากฟังธรรมธรรมของพระอริยเจ้า) 1 อุปารัมภจิตตตา (ความมีจิตเที่ยวเกาะเกี่ยว) 1 ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง ธรรมสาม คือ มุฏฐสัจจะ 1 อสัมปชัญญะ 1 เจตโสวิกเขปะ 1.

ภิกษุ ท.! บุคคล เมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คือ อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) 1 อสังวระ (ความไม่สำรวม) 1 ทุสสีลยะ (ความทุศีล) 1 ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งธรรม 3 คือ อริยานังอทัสสนกัมยตา 1 อริยธัมมังอโสตุกัมยตา 1 อุปารัมภจิตตตา 1.

ภิกษุ ท.! บุคคล เมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คือ อสัทธิยะ (ความไม่มีสัทธา) 1 อวทัญญุตา (ความเป็นวทัญญู) 1 โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) 1 ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งธรรม 3 คือ อุทธัจจะ 1 อสังวระ 1 ทุสสีลยะ 1.

ภิกษุ ท.! บุคคล เมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คือ อนาทริยะ (ความไม่เอื้อเฟื้อในบุคคลและธรรมอันควรเอื้อเฟื้อ) 1 โทวจัสสตา (ความเป็นคนว่ายาก) 1 ปาปมิตตตา (ความมีมิตรชั่ว) 1 ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อสัทธิยะ 1 อวทัญญุตา 1 โกสัชชะ 1.

ภิกษุ ท.! บุคคล เมื่อไม่ละซึ่งธรรมสาม คือ อหิริกะ (ความไม่ละอายในสิ่งที่ควรละอาย) 1 อโนตตัปปะ (ความไม่กลังในสิ่งที่ควรกลัว) 1 ปมาทะ (ความประมาท) 1 ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ อนาทริยะ 1 โทวจัสสตา 1 ปาปมิตตตา 1

ภิกษุ ท.! บุคคลนี้ เป็นผู้มี อหิริกะ มีอโนตตัปปะ มีปมาทะ แล้ว. เขาเมื่อเป็นผู้มีปมาทะอยู่แล้ว ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งอนาทริยะ 1 โทว-จัสสตา 1 ปาป-มิตตา 1;

เขาเมื่อเป็นผู้มีปาปมิตตตา ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งอสัทธิยะ 1 อวทัญญุตา 1 โกสัชชะ 1;

เขาเมื่อเป็นผู้มีโกสัชชะ ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งอุทธัจจะ 1 อสังวระ 1 ทุสสีลยะ 1;

เขาเมื่อเป็นผู้มีทุสสีลยะ ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งอริยานังอทัสสนกัมยตา 1 อริยธัมมังอโสตุ กัมยตา 1 อุปารัมภจิตตตา 1;

เขาเมื่อเป็นผู้มีอุปารัมภจิตตา ก็ไม่อาจะเพื่อละซึ่งมุฏฐสัจจะ 1 อสัมปชัญญะ 1 เจต-โสวิกเขปะ 1;

เขาเมื่อเป็นผู้มีเจตโสวิกเขปะ ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งอโยนิโสมนสิการ 1 กุมมัคคเสวนา 1 เจตโสลีนัตตา 1;

เขาเมื่อเป็นผู้มีเจตโสลีนัตตา ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งสักกายทิฏฐิ 1 วิจิกิจฉา 1 สีลัพพัตต-ปรามาส 1;

เขาเมื่อเป็นผู้มีวิจิกิจฉา ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งราคะ 1 โทสะ 1 โมหะ 1;

เขาเมื่อไม่ละซึ่งราคะ 1 โทสะ 1 โมหะ 1 ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งชาติ 1 ชรา 1 มรณะ 1.

(ต่อไปได้ตรัสข้อความเกี่ยวกับปฏิปักขนัยฝ่ายตรงกันข้าม อันเป็นฝ่ายที่ทำให้ละ ชาติ-ชรา-มรณะ ได้ ผู้อ่านสามารถเทียบเคียงได้เอง จึงมิได้นำมากล่าวไว้ในที่นี้).

- ทสก. อํ. 24/154-157/76.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง