[Font : 15 ]
| |
ผู้ไม่หลงเอาสิ่งอื่นมาเป็นแก่น |  

ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้คือ กุลบุตรบางคน มีศรัทธา ออกบาชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน เพราะคิดเห็นว่า "เราถูกความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ครอบงำเอาแล้ว เป็นคนตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะปรากฏมีได้" ดังนี้ ครั้นบวชแล้ว เธอสามารถทำลาภสักการะ และเสียงเยินยอให้เกิดขึ้นได้, เธอไม่ยินดีในลาภสักการะและเสียงเยินยออันนั้น, ไม่มีความดำริเต็มรอบแล้ว ในลาภสักการะและเสียงเยินยออันนั้น, เธอไม่ทะนงตัวเพราะลาภสักการะและเสียงเยินยออันนั้น, เธอไม่มัวเมาในลาภสักการะและเสียงเยินยออันนั้น, ไม่ถึงความประมาทในลาภสักการะและเสียงเยินยออันนั้น, เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ความถึงพร้อมด้วยศีลเกิดขึ้นได้, เธอมีใจยินดีในความถึงพร้อมด้วยศีลอันนั้น, แต่ไม่มีความดำริเต็มรอบแล้วในความถึงพร้อมด้วยศีลอันนั้น, เธอไม่ทะนงตัวเพราะความพึงพร้อมด้วยศีลอันนั้น, เธอไม่มัวเมาในความถึงพร้อมด้วยศีลอันนั้น, เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ความพึงพร้อมด้วยสมาธิเกิดขึ้นได้, เธอมีใจยินดีพร้อมด้วยสมาธิอันนั้น, เธอไม่ทะนงตัว เพราะความถึงพร้อมด้วยสมาธิอันนั้น, เธอไม่มัวเมาในความถึงพร้อมด้วยสมาธิอันนั้น, ไม่ถึงความประมาทในความถึงพร้อมด้วยสมาธิอันนั้น; เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ญาณทัสสนะ (ปัญญาเครื่องรู้เห็น) เกิดขึ้นได้อีก, เธอมีใจยินดีในญาณทัสสนะอันนั้น, แต่ไม่มีความดำริเต็มรอบแล้วในญาณทัสสนะอันนั้น, เธอไม่ทะนงตัวเพราะญาณทัสสนะอันนั้น, เธอไม่มัวเมาในญาณทัสสนะอันนั้น, ไม่ถึงความประมาณในญาณทัสสนะอันนั้น; เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ สมยวิโมกข์ (ความพ้นพิเศษโดยสมัย) เกิดขึ้นได้อีก.

ภิกษุ ท.! ข้อนี้ย่อมเป็นไปได้ คือข้อที่ ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมคลายจากสมยวิมุตติอันนั้นก็ได้.

(อีกนัยหนี่ง)

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนมนุษย์ต้องการด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวค้นหาแก่นไม้ จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว ตัดเอาแก่นถือไปด้วยมั่นใจว่า "นี่เป็นแก่นแท้" ดังนี้. บุรุษมีตาดี เห็นคนนั้นเข้าแล้ว ก็กล่าวว่า "ผู้เจริญคนนี้ ช่างรู้จักแก่น, รู้จักกระพี้, รู้จักเปลือกสด, รู้จักสะเก็ดแห้งตามผิวเปลือก, รู้จักใบอ่อนที่ปลายกิ่ง, จริงดังว่า ผู้เจริญคนนี้ ต้องการแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวค้นหาแก่นไม้ จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว ก็ตัดเอาแก่นแท้ถือไปด้วยมั่นใจว่า "นี่เป็นแก่นแท้" ดังนี้. สิ่งที่เขาต้องทำด้วยแก่นไม้ จักสำเร็จประโยชน์เป็นแท้" ดังนี้; ฉันใดก็ฉันนั้น (ที่กุลบุตรบางคนออกบวชด้วยศรัทธา ปฏิบัติไม่หลงปิด จนกระทั่ง บรรลุอสมยวิโมกข์)

ภิกษุ ท.! ข้อนี้ย่อมเป็นไปได้ ไม่ใช่โอกาสที่จะเป็นได้ คือข้อที่ภิกษุนั้น จะพึงเสื่อมคลาย จากอสมยวิมุตติ (ความหลุดพ้นที่ไม่มีสมัย) อันนั้นเลย.

ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะและเสียงเยินยอเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยศีลเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้มิใช่มีความถึงพร้อมสมาธิเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์.

ภิกษุ ท.! ก็เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบอันใด มีอยู่, พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุตินั่นแหละเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีเจโตวิมุตตินั่นแหละเป็นแก่นสาร มีเจโตวิมุตตินั่นแหละเป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์ แล.

- บาลี พระพุทธภาษิต มหาสาโรปมสูตร มู.ม. 12/370/350, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้นครราชคฤห์.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง