[Font : 15 ]
| |
นิทเทศแห่งไตรสิกขา เพื่อเปรียบเทียบ |  

ภิกษุ ท.! สิกขา 3 อย่างเหล่านี้ มีอยู่. 3 อย่าง อย่างไรเล่า ? 3 อย่างคือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.

ภิกษุ ท.! อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุ ท.! นี้เรากล่าวว่า อธิสีลสิกขา.

ภิกษุ ท.! อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจาวิเวก แล้วแลอยู่; เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่; อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า "เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข" ดังนี้ เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่ ; เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน, เข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท.! นี้เรากล่าวว่า อธิจิตตสิกขา.

ภิกษุ ท.! อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ ชัดตามเป็นจริงว่า "นี้ ทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ ทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์" ดังนี้. ภิกษุ ท.! นี้เรากล่าวว่า อธิปัญญาสิกขา.

ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล สิกขา 3 อย่าง.

- ติก. อํ. 20/303/529.

นิทเทสแหงไตรสิกขา (อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท.! สิกขา 3 อย่างเหล่านี้ มีอยู่, 3 อย่าง อย่างไรเล่า ? 3 อย่าง คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.

ภิกษุุ ท.! อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุุ ท.! ภิกษุุในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีลสำรวมด้้วยปาติโมกขสังวร ....ฯ ล ฯ .... สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุ ท.! นี้เรากล่าวว่า อธิสีลสิกขา.

ภิกษุุ ท.! อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดจากกามทั้งหลาย .... เข้าถึงปฐมฌาน ....ฯลฯ .... ทุติยฌาน .... ฯลฯ .... ตติยฌาน .... ฯลฯ .... จตุตถฌาน .... แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท.! นี้เรากล่าวว่า อธิจิตตสิกขา.

ภิกษุ ท.! อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท.! นี้เรากล่าวว่า อธิปัญญาสิขา.

ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล สิกขา 3 อย่าง.

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)

พึงเป็นผู้มีความเพียร มีกำลัง มีความตั้งมั่น มีความเพ่ง มีสติ สำรวมอินทรีย์ ประพฤติอธิศีลอธิจิตและอธิปัญญาเถิด พึงแผ่จิตครอบงำทิศทั้งปวง ด้วยสมาธิอันหาประมาณมิได้ เช่นเดียวกันทั้งข้างหน้าข้างหลัง ทั้งข้างหลังข้างหน้า เช่นเดียวกันทั้งเบื้องต่ำเบื้องสูง ทั้งเบื้องสูงเบื้องต่ำ เช่นเดียวกันทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งกลางคืนกลางวัน. นั่นท่านกล่าวกันว่าเป็นเสขปฏิปทา หรือการประพฤติธรรมหมดจดด้วยดี. นั่นท่านกล่าวกันว่าเป็นผู้รู้พร้อมในโลก มีปัญญา ถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติ.

วิโมกข์แห่งจิต ย่อมมีแก่บุคคลนั้นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา เพราะความดับสนิทแห่งวิญญาณ เหมือนความดับสนิทแห่งไฟฉะนั้น.

- ติก. อํ. 20/303/530.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง