[Font : 15 ]
| |
การสิ้นกรรม ตามแบบของปฏิจจสมุปบาท

การสิ้นกรรม ตามแบบของปฏิจจสมุปบาทPTC89

ดูก่อนวัปปะ ! ถ้าท่านจะพึงยินยอมข้อที่ควรยินยอม และคัดค้านข้อที่ควรคัดค้าน ต่อเรา. อนึ่ง ท่านไม่รู้ความแห่งภาษิตของเราข้อใด ท่านพึงซักถามเราในข้อนั้น ให้ยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตข้อนี้ เป็นอย่างไรเล่าท่านผู้เจริญ ? ดังนี้แล้วไซร้ การสนทนาระหว่างเราทั้งสอง ก็จะพึงมีได้.

ครั้นวัปปะศากยะ ได้ตกลงยินยอมในข้อนั้นแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสข้อความดังต่อไปนี้:-

ดูก่อนวัปปะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ? คือ อาสวะทั้งหลายเหล่าใดเกิดขึ้นเพราะกายสมารัมภะเป็นปัจจัย แล้วทำความคับแค้นเร่าร้อน ; เมื่อบุคคลเว้นขาดแล้วจากกายสมารัมภะ, อาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นเร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี : บุคคลนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกรรมใหม่ด้วยและย่อมกระทำกรรมเก่าที่ถูกต้องแล้วๆ ให้สิ้นไปด้วย. ปฏิปทาเป็นเครื่องสิ้นกรรมอย่างนี้ เป็นธรรมอันผุ้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่รู้จักเก่า ไม่ประกอบด้วยสากล ควรเรียกกันมาดู พึงน้อมเข้ามาในตน เป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลายพุงรู้ได้เฉพาะตน. ดูก่อนวัปปะ ! อาสวะทั้งหลาย อันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษ ในการต่อไปเบื้องหน้า เนื่องมาแต่ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านย่อมรู้ซึ่งฐานะนั้นหรือไม่ ? (“ข้อนั้นหามิใช่พระเจ้าข้า !)

ดูก่อนวัปปะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ? คือ อาสวะทั้งหลายเหล่าใด เกิดขึ้นเพราะวจีสมารัมภะเป้นปัจจัย แล้วทำความคับแค้นเร่าร้อน ; เมื่อบุคคลเว้นขาดแล้วจากวจีสมารัมภะ, อาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นเร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี : บุคคลนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกรรมใหม่ด้วย และย่อมกระทำกรรมเก่าที่ถูกต้องแล้วๆ ให้สิ้นไปด้วย. ปฏิปทนาเป็นเครื่องสิ้นกรรมอย่างนี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่รู้จักเก่า ไม่ประกอบด้วยสากล ควรเรียกกันมาดู พึงน้อมเข้ามาในตน เป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน. ดูก่อนวัปปะ ! อาสวะทั้งหลาย อันเป็นไปเพื่อทุขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษ ในกาลต่อไป เบื้องหน้าเนื่องมาแต่บานะใดเป็นเหตุ ท่านย่อมรู้ซึ่งฐานะนั้นหรือไม่ ? (“ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”)

ดูก่อนวัปปะ ! ท่านจะสำคัญข้อความนี้ว่าอย่างไร ? คือ อาสวะทั้งหลายเหล่าใด เกิดขึ้นเพราะมโนสมารัมภะเป็นปัจจัย แล้วทำความคับแค้นเร่าร้อน ; เมื่อบุคคลเว้นขาดแล้วจากมโนสมารัมภะ, อาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นเร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี : บุคคลนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกรรม ใหม่ด้วยและย่อมกระทำกรรมเก่าที่ถูกต้องแล้วๆ ให้สิ้นไปด้วย.ปฏิปทาเป็นเครื่องสิ้นกรรมอย่างนี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติถึงเห็นเอง ไม่รู้จักเก่า ไม่ประกอบด้วยสากล ควรเรียกกันมาดู พึงน้อมเข้ามาในตน เป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน. ดูก่อนวัปปะ ! อาสวะ ทั้งหลาย อันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษ ในกาลต่อไปเบื้องหน้า เนื่องมาแต่ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านย่อมรู้ซึ่งฐานะนั้นหรือไม่ ? (ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”)

ดูก่อนวัปปะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ? คือ อาสวะทั้งหลายเหล่าใด เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย แล้วทำความดับแค้นเร่าร้อน ; เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา เพราะความสำรอกออกเสียได้หมดซึ่งอวิชชา, อาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นเร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี : บุคคลนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกรรมใหม่ด้วยและย่อมกระทำกรรมเก่าที่ถูกต้องแล้วๆ ให้สิ้นไปด้วย. ปฏิปทาเป็นเครื่องสิ้นกรรมอย่างนี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่รู้จักเก่า ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู พึงน้อมเข้ามาในตน เป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน ดูก่อนวัปปะ ! อาสวะทั้งหลาย อันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษ ในกาลต่อไปเบื้องหน้าเนื่องมาแต่ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านย่อมรู้ซึ่งฐานะนั้นหรือไม่ ? (“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”)

ดูก่อนวัปปะ ! เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว สตตวิหารธรรมPTC90 ทั้งหลาย 6 ประการ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นถึงทับแล้ว : ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ; ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว..... รู้สึกกลิ่นด้วยฆานะแล้ว.... ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว.... ถูกต้องสัมผัสผิวหนังด้วยผิวกายแล้ว.... รู้สึกธัมมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่. ภิกษุนั้น เมื่อเสวยด้วยเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนา มีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ; เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ; เธอย่อมรู้ชัดว่า “เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย” ดังนี้.

ดูก่อนวัปปะ เปรียบเหมือนเงาย่อมปรากฏเพราะอาศัยเสาสดมภ์ (ถูณะ) ลำดับนั้น บุรุษถือเอามาซึ่งจอบและตะกร้า เขาตัดซึ่งเสานั้นที่โคน ครั้นตัดที่โคนแล้ว พึงขุด ครั้นขุดแล้ว พึงรื้อซึ่งรากทั้งหลาย ไม่ให้เหลือแม้ที่สุดสักแต่ว่าเท่าต้นแฝก. บุรุษนั้น พึงตัดซึ่งเสานั้นให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ครั้นตัดซึ่งเสานั้นให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่แล้ว พึงผ่า ; ครั้นผ่าแล้ว พึงจักให้เป็นซีกเล็กๆ ; ครั้นจักให้เป็นซีกเล็กๆ แล้วพึงผึ่งให้แห้งในลมและแดด; ครั้นผึ่งให้แห้งในลมและแดดแล้ว พึงเผาด้วยไฟ ; ครั้นเผาด้วยไฟแล้วพึงทำให้เป็นผงเถ้าถ่าน ; ครั้นทำให้เป็นผงเถ้าถ่านแล้ว พึงโปรย ไปในกระแสลมอันพัดจัด หรือว่าพึงให้ลอยไปในกระแสอันเชี่ยวแห่งแม่น้ำ. ดูก่อนวัปปะ ! เงาอันใด ที่อาศัยเสาสดมภ์ เงาอันนั้นย่อมถึงซึ่งความมีมูลเหตุอันขาดแล้ว ถูกกระทำเหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน กระทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา, นี้ฉันใด ;

ดูก่อนวัปปะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว สตตวิหารธรรมทั้งหลาย 6 ประการ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นถึงทับแล้ว : ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ; ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว... ; รู้สึกกลิ่นด้วยฆานะแล้ว... ; ลิ้นรสด้วยชิวหาแล้ว... ; ถูกต้องสัมผัสผิวหนังด้วยผิวกายแล้ว... ; รู้สึกธัมมารมณ์ด้วยมโนแล้วไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่. ภิกษุนั้น เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนา มีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ; เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ; เธอย่อมรู้ชัดว่า “เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลินเพลินแล้วจักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย” ดังนี้.

ครั้งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วัปปศากยะผู้เป็นสาวกแห่งนิครนถ์ ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการกำไร พึงเลี้ยงลูกม้าไว้ขาย เขาไม่ได้กำไรด้วย เป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากเดือดร้อนอย่างยิ่งด้วย, นี้ฉันใด ; ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือ ข้าพระองค์ผู้ต้องการด้วยประโยชน์ ได้เข้าไปคบหาซึ่งนิครนถ์ทั้งหลายผู้อ่อนด้วยปัญญา. ข้าพระองค์นั้นไม่ได้กำไรด้วยเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากเดือดร้อนอย่างยิ่งด้วย. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพระองค์ขอโปรยเสียซึ่งความเลื่อมใสในนิครนถ์ทั้งหลายผู้อ่อนด้วยปัญญา ในกระแสลมอันพัดจัด หรือว่าลอยเสียซึ่งความเลื่อมใสนั้น ในกระแสอันเชี่ยวแห่งแม่น้ำ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! วิเศษนักพระเจ้าข้า ! วิเศษนัก พระเจ้าข้า ! ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำอยู่หรือว่าเปิดของที่ปิดอยู่ หรือว่าบอกหนทางให้แก่บุคคลผู้หลงทางหรือจุดประทีปอันโพลงขึ้น ด้วยน้ำมัน ไว้ในที่มืด ด้วยความหวังว่า ผู้มีจักษุทั้งหลายจักได้เห็นรูปทั้งหลาย ฉันใด; ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศแล้ว โดยปริยายเป็นอเนก ก็ฉันนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ขอถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคด้วย ซึ่งพระธรรมด้วย ซึ่งพระสงฆ์ด้วย ว่าเป็นสรณะ. ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงถือว่า ข้าพระองค์เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะแล้ว จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป จนตลอดชีวิต”. ดังนี้ แล.

หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า การสิ้นกรรมที่แม้จริงนั้น เป็นการสิ้นไปในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท คือเมื่อไม่มีกาย-วจี-มโนสมารัมภะ หรืออวิชชาอันเป็นเหตุให้เกิดอาสวะ อันเป็นอาการที่เห็นได้ รู้สึกได้ ด้วยตนเอง ในทิฏฐธรรมนี้ โดยเฉพาะในขณะที่ความคับแค้นเร่าร้อนระงับลง เมื่อหยุดเสียได้ซึ่งกายสมารัมภะเป็นต้น แม้เพียงในปฏิจจสมุปบาท สายหนึ่งๆ เรียกว่าเป็นการสิ้นกรรมไปคราวหนึ่งได้ เมื่อปฏิจจสมุปบาท ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก ก็เป็นการสิ้นกรรมที่ถาวร ; ไม่ควรจะหมายถึงเรื่องอะไรๆ หลังจากตายแล้วพียงอย่างเดียว. แต่หมายความว่า เมื่อจิตไม่มีการปรุง แต่เป็นอุปาทาน หรือเป็นภพขึ้นมาได้แล้ว กรรมใหม่ก็เป็นอันไม่กระทำ กรรมเก่าก็เป็นอันสิ้นสุดไป เพราะไม่มีสิ่งที่เรียกว่า ภพ หรือ ชาติ ในปัจจุบันนี้ ที่จะเป็นแดนให้กรรม ทำหน้าที่ให้ผล จึงถือว่าสิ้นกรรม ในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ