[Font : 15 ]
| |
ฉิบหายเพราะจระเข้ |  

ภิกษุ ท.! ภัย อันเกิดแต่จระเข้ เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้คือ คนบางคนมีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน เพราะคิดเห็นว่า "เราถูกความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจครอบงำเอาแล้ว เป็นคนตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะปรากฏมีได้" ดังนี้. ครั้นบวชแล้วเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ย่อมว่ากล่าวสั่งสอนเธอว่า "สิ่งนี้ท่านควรเคี้ยว สิ่งนี้ไม่ควรเคี้ยว, สิ่งนี้ท่านควรบริโภค, ท่านควรเคี้ยว กิน ลิ้ม ดื่ม แต่ของที่ควร, ไม่ควรเคี้ยว กิน ลิ้ม ดื่ม ของที่ไม่ควร, ท่านควรเคี้ยว กิน ลิ้ม ดื่ม แต่ในกาลที่ควร ไม่ควรเคี้ยว กิน ลิ้ม ดื่ม นอกกาล" ดังนี้ เธอนั้น หวนระลึกไปว่า "เมื่อก่อน เราอยู่ครองเรือน ปรารถนาสิ่งใด ก็เคี้ยว กิน ลิ้ม ดื่ม สิ่งนั้น, เคี้ยว กิน ลิ้มดื่มได้ (ทุกอย่างทั้งที่ภิกษุนี้ว่า) ควรและไม่ควร, ได้ทั้งในกาลที่ควร แะนอกกาล, ชะรอยท่านจะห้ามปากของเราในของเคี้ยวของฉันอันประณีต ที่คฤหบดีผู้มีศรัทธา นำมาถวายนอกกาลในเวลากลางวัน" ดังนี้, เธอก็โกรธ แค้นใจ บอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศต่ำแห่งคฤหัสถ์.

ภิกษุ ท.! ภิกษุชนิดนี้ เรียกว่า ผู้กลัวภัย อันเกิดแต่จระเข้ แล้วจึงบอกเลิกสิกขา หมุนกลับคืนไปสู่เพศต่ำแห่งคฤหัสถ์.

ภิกษุ ท.! คำว่า ภัย อันเกิดแต่จระเข้นี้ เป็นคำแทนชื่อสำหรับเรียกความเป็นคนเห็นแก่ท้อง.

ภิกษุ ท.! นี้ เรียกว่า ภัย อันเกิดแต่จระเข้ แล.

- บาลี พระพุทธภาษิต จตุกฺก. อํ. 21/165/122.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง