[Font : 15 ]
| |
ศีล

1. พยัญชนะ : ศีลโดยพยัญชนะ : คือ ปกติ.

2. อรรถะ : ศีลโดยอรรถะ :

2.1 การกระทำที่ทำให้เกิดความปกติหรือสงบ.

2.2 ภาวะแห่งความปกติ.

3. ไวพจน์ : ศีลโดยไวพจน์ : คือ สันติ.

4. องค์ประกอบ : ศีลโดยองค์ประกอบ :

1. เจตนาแห่งการกระทำ.

2. ความรู้ที่ถูกต้องในการที่จะกระทำ หรือสัมมาทิฏฐิ.

3. ความพยายามกระทำตามที่เจตนานั้น.

5. ลักษณะ : ศีลโดยลักษณะ : มีลักษณะ :

5.1 ปกติหรือสงบ.

5.2 แห่งปัจจัยของความสุข.

5.3 แห่งปัจจัยของสมาธิ.

6. อาการ : ศีลโดยอาการ :

นัยที่ 1 : อาการของศีล (โดยสมมติ) :

1. มีอาการแห่งความไม่กระทบกระทั่งเบียดเบียน.

2. มีอาการสร้างสรรค์ความสงบ.

3. มีอาการระงับความวุ่นวาย.

นัยที่ 2 : อาการของความมีศีล : อนุโลมตามอาการของศีล.

7. ประเภท : ศีลโดยประเภท : แบ่งเป็นประเภทสอง :

นัยที่ 1 : โดยเจตนา :

1. ศีลที่สมาทานรักษาไว้ด้วยเจตนา ของผู้ที่ยังไม่จบพรหมจรรย์ คือ ยังไม่เป็นพระอรหันต์.

2. ศีลที่มีโดยปกติไม่ต้องมีเจตนา ของผู้จบพรหมจรรย์แล้วคือ พระอรหันต์.

นัยที่ 2 : โดยผลที่ได้รับ :

1. มีผลเป็นไปเพื่อการเวียนว่ายในวัฏฏะ.

2. มีผลเป็นไปเพื่อออกจากวัฏฏะ คือเป็นไปเพื่อสมาธิและปัญญา.

นัยที่ 3 : โดยมูลเหตุ :

1. ศีลที่เป็นทาสของตัณหา : ที่รักษาศีลจนตายก็ไม่มีศีล.

2. ศีลโดยอำนาจของปัญญา : ไม่เป็นทาสของตัณหา แม้ไม่รักษาก็มีศีลสมบูรณ์.

นัยที่ 4 : โดยความบริสุทธิ์ :

1. ศีลปลอม : เป็นศีลที่รักษาอวดคนเพื่อผลทางวัตถุ.

2. ศีลจริงหรือศีลแท้ : เป็นศีลที่รักษาโดยไม่อยากให้ใครรู้ใครเห็นเพื่อผลสุดท้าย คือ นิพพาน.

นัยที่ 5 : โดยสมาทาน :

1. โลกิยศีล : ปุถุชนรักษา.

2. โลกุตตรศีล : พระอริยเจ้ามีโดยไม่ต้องรักษา.

นัยที่ 6 : โดยภาวะแห่งความปกติ :

1. ธรรมชาติกำหนดหรือจัดสรร : เฉียบขาด ตายตัว.

2. มนุษย์จัดสรร : เปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัย หรือสิ่งแวดล้อม.

นัยที่ 7 : โดยสถานะ :

1. ศีลที่เป็นหัวหน้า : เป็นหลัก เป็นประธาน.

2. ศีลบริวาร : ที่ประกอบหรือประดับศีลหลักเพื่อให้ดูงดงามยิ่งขึ้น.

8. กฎเกณฑ์ : ศีลโดยกฎเกณฑ์ :

8.1 กฎเกณฑ์ของศีล.

1. ต้องประกอบด้วยเจตนา.

2. ต้องเป็นไปเพื่อความปกติ.

3. ต้องส่งเสริมความเป็นสมาธิ.

4. ต้องคุ้มครองผู้ปฏิบัติ.

8.2 กฎเกณฑ์ของความมีศีล : อนุโลมตามกฎเกณฑ์ของศีล.

9. สัจจะ : ศีลโดยสัจจะ :

9.1 เป็นกฎของธรรมชาติ เกี่ยวกับความปกติสุขทางวัตถุหรือทางกายของบุคคลและสังคม.

9.2 มีสัจจะ (ความเที่ยงแท้แน่นอน) : ต่อการสร้างสรรค์ภาวะปกติของสังคม (การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่).

9.3 มีสัจจะ (ความเที่ยงแท้แน่นอน) : ในการเป็นพื้นฐาน (ที่เกิด, ที่ตั้ง, ที่เจริญ) ของสมาธิ.

9.4 จำเป็นสำหรับสังคมของปุถุชน.

10. หน้าที่ : ศีลโดยหน้าที่ (โดยสมมติ) :

10.1 ทำความปกติให้กาย วาจา.

10.2 กำจัดโทษชั้นหยาบของกิเลส.

10.3 เป็นหน้าที่ขั้นต้นของการควบคุมและกำจัดความเห็นแก่ตัว.

11. อุปมา : ศีลโดยอุปมา :

11. อุปมา : ศีลโดยอุปมา :

11.1 อุปมาทางวัตถุ : เหมือนก้อนศิลาในลำธารที่ร่มเย็น.

11.2 อุปมาทางจิตใจ : เป็นบันไดขั้นแรกของพรหมจรรย์.

12. สมุทัย : ศีลโดยสมุทัย :

12.1 โทษ : คือความปราศจากปกติภาวะของสังคม.

12.2 ปัญญาที่เห็นโทษของความปราศจากศีล และเห็นอานิสงส์ของความมีศีล.

12.3 การทนไม่ได้ต่อสภาวะที่ปราศจากศีล.

13. อัตถังคมะ: ศีลโดยอัตถังคมะ : คือความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งศีล : ได้แก่ :

13.1 ความประมาทขาดสติสัมปชัญญะ; ปราศจากหิริโอตตัปปะ ; มีความเห็นแก่ตัว.

13.2 ความลุอำนาจแก่กิเลส.

14. อัสสาทะ : ศีลโดยอัสสาทะ :

14.1. ภาวะของความสงบเย็นเป็นปกติของสังคม.

14.2 เป็นที่ตั้งแห่งความเคารพนับถือ รักใคร่ ไว้วางใจของผู้อื่น.

14.3 การเคารพตัวเองได้.

15. อาทีนวะ : ศีลโดยอาทีนวะ : อาทีนวะของศีลโดยตรงไม่มี มีแต่โดยอ้อม :

15.1 เมื่อถูกใช้เป็นเครื่องตบตาสังคม ให้หลงบูชาบุคคลซึ่งแท้จริงไม่มีศีล.

15.2 อาจจะกลายเป็นสีลัพพตปรามาสA69 ของคนบ้าศีล เมาศีลและหลงศีล.

15.3 ศีลที่ถูกตัณหาและทิฏฐิลูบคลำ.

16. นิสสรณะ : ศีลโดยนิสสรณะ : ทางออกจากศีลโดยทั่วไปไม่มี ; มีแต่ :

16.1 ต้องพยายามออกจากโลกิยศีล ไปสู่โลกุตตรศีล ด้วยอำนาจของปัญาและสัจจะ.

16.2 ออกจากสีลัพพตปรามาสด้วยยถาภูตสัมมัปปัญญาA70.

17. ทางปฏิบัติ : ศีลโดยทางปฏิบัติ :

17.1 มีสัมมาทิฏฐิหรือปัญญานำหน้าความมีศีล.

17.2 มีสัจจะและหิริโอตตัปปะเป็นรากฐานของศีล มีสติสัมปชัญญะเป็นเครื่องประคับประคองศีล มีการสำรวมและความอดกลั้นอดทน ความว่าง่าย สอนง่าย เป็นอาหารของศีล.

17.3 มีการกำหนดวันพระวันศีลไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อสะดวกแก่การปฏิบัติ.

18. อานิสงส์ : ศีลโดยอานิสงส์ :

18.1 เป็นบันไดขั้นต้นของพรหมจรรย์ : คือส่งเสริมสมาธิและปัญญา ; กระทั่ง มรรค ผล นิพพาน.

18.2 ป้องกันและกำจัดวิปฏิสาร (ความเดือดเนื้อร้อนใจ) ของบุคคลโดยรอบด้าน.

18.3 มีอานิสงส์ตามชนิดของศีล แบ่งเป็นคู่ :

คู่ที่ 1 : โลกิยศีล : ให้สันติสุข สันติภาพแก่บุคคล แก่สังคม.

โลกุตตรศีล : ให้ความรอดทางด้านจิตใจ.

คู่ที่ 2 : ศีลหลัก : ให้ผลตามวัตถุประสงค์.

ศีลประกอบ : ให้ความงดงามชักจูงความเลื่อมใสรอบด้าน.

19. หนทางถลำ : ศีลโดยหนทางถลำ : เข้าไปสู่ความมีศีล :

19.1 คบหาสมาคมกับคนมีศีลเป็นปกติ และเว้นจากการคบคนทุศีล.

19.2 กำหนดวันพระวันศีลอย่างเคร่งครัด เพื่อสะดวกแก่การปฏิบัติ.

20. สิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง: ศีลโดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง : กับการมีศีล :

20.1 ธรรมเป็นเครื่องบังคับตัว : เช่น ทมะ, สังวร, สัจจะ

20.2 ธรรมเป็นเครื่องละเว้น : เช่น ปหานะ, เวรมณี

20.3 ธรรมเป็นเครื่องสร้างสรรค์ : เช่น วิริยะ, วายามะ

ฯลฯ

21. ภาษาคน - ภาษาธรรม : ศีลโดยภาษาคน - ภาษาธรรม :

ภาษาคน : หมายถึงตัวสิกขาบท.

ภาษาธรรม : หมายถึงภาวะปกติ ไม่มีปัญญายุ่งยาก.

ธรรมโฆษณ์ที่แนะนำให้อ่าน

1. การกลับมาแห่งศีลธรรม

2. เตกิจฉกธรรม

3. โอสาเรตัพพธรรม


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง