[Font : 15 ]
| |
สังโยชน์ 7 |  

ภิกษุ ท.! สัญโญชน์ (สิ่งผูกพัน) 7 อย่างเหล่านี้ มีอยู่. 7 อย่าง อย่างไรเล่า? 7 อย่าง คือ อนุนยสัญโญชน์ (สังโยชน์คือกามราคะเป็นเหตุให้ติดตาม) 1 ปฏิฆสัญโญชน์ (สังโยชน์คือความโกรธไม่ได้อย่างใจ) 1 ทิฏฐิสัญโญชน์ (สังโยชน์คือความเห็นผิด) 1 วิจิกิจฉาสัญโญชน์ (สังโยชน์คือความลังเลสังสัย) 1 มานสัญโญชน์ (สังโยชน์คือความสำคัญตน) 1 ภวราคสัญโญชน์ (สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ) 1 อวิชชาสัญโญชน์ (สังโยชน์คืออวิชชา) 1. ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล คือสัญโญชน์ 7 อย่าง.

ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งสัญโญชน์ 7 อย่าง. 7 อย่างเหล่าไหนเล่า?

ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุนยสัญโญชน์ 1 ปฏิฆสัญโญชน์ 1 ทิฏฐิสัญโญชน์ 1 วิจิกิจฉาสัญโญชน์ 1 มานสัญโญชน์ 1 ภวราคสัญโญชน์ 1 อวิชชาสัญโญชน์ 1. ภิกษุ ท .! พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งสัญโญชน์ 7 อย่างเหล่านี้แล.

ภิกษุ ท.! เมื่อใดแล, อนุนยสัญโญชน์ก็ดี ปฏิฆสัญโญชน์ก็ดี ทิฏฐิสัญโญชน์ก็ดี วิจิกิจฉาสัญโญชน์ก็ดี มานสัญโญชน์ก็ดี ภาวราคสัญโญชน์ก็ดี อวิชชาสัญโญชน์ก็ดี เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว มีรากเง่าอันตัดขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดเน่า ทำให้มีไม่ได้ ทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป;

ภิก ษุ ท .! เมื่อนั้น , ภิกษุนี้ เราเรียกว่า "ตัดตัณหาได้แล้ว รื้อถอนสัญโญชน์ได้แล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะรู้จักหน้าตาของมานะอย่างถูกต้องแล้ว" ดังนี้แล.

- สตฺตก. อํ. 23/7-8/8-9.

(เกี่ยวกับเรื่องนี้ ควรดูหัวข้อว่า "ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละเพื่อตัดอนุสัยโดยเด็ดขาด" ที่หน้า 431 แห่งหนังสือนี้ ประกอบด้วย).


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง