[Font : 15 ]
| |
รู้จักอุปาทาน ต่อเมื่อหมดอุปาทาน |  

ภิกษุ ท.! ธรรมเพื่อการรอบรู้อุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างไรเล่า ?

(ความจริงมีอยู่ว่า:-) เพราะอาศัย จักษุ และรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ; การประจวบพร้อมแห่งธรรม 3 ประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ) นั้นคือผัสสะ ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา. ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้มีการสดับ เห็นอยู่ (ซึ่งกระแสการปรุงแต่ง) อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ เบื่อหน่ายทั้งในรูป เบื่อหน่ายทั้งในจักขุวิญญาณ เบื่อหน่ายทั้งในจักขุสัมผัส เบื่อหน่ายทั้งในเวทนา. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด; เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น. เธอย่อมรู้ชัดว่า "อุปาทานของเรา เรารวบรู้แล้ว เพราะความหลุดพ้นนั้น (วิโมกฺขปริญฺญาต)" ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน).

- สฬา. สํ. 18/39/63.

(ข้อความนี้ เป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งที่คนธรรมดาจะไม่นึกฝัน ว่าเราจะรู้จักสิ่งใดถึงที่สุดนั้น ก็ต่อเมื่อเราจัดการกับสิ่งนั้นตามที่ควรจะทำ ถึงที่สุดแล้ว, มิใช่ว่าพอสักว่าเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นก็รู้จักสิ่งนั้นโดยสมบูรณ์์แล้ว. ในกรณีนี้ มีใจความสำคัญว่า จะรู้จักกิเลสข้อไหนได้ ก็ต่อเมื่อเราทำลายกิเลสนั้นเสร็จสิ้นแล้ว).


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง