[Font : 15 ]
| |
อาสวกขยาญาณ เป็นเครื่องให้พ้นจากอาสวะ |  

พราหมณ์ ! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสวักขยญาณ :

เธอนั้น ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า "นี่ ทุกข์, นี่ เหตุแห่งทุกข์, นี่ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี่ ทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์" ; และรู้ชัดตามเป็นจริงว่า "เหล่านี้ เป็นอาสวะ, นี้ เหตุแห่งอาสวะ, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ เป็นทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ" เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ ครั้นจิตพ้นวิเศษแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า จิตพ้นแล้ว. เธอย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความ (หลุดพ้น) เป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก".

พราหมณ์ ! วิชชาที่สามนี้ เป็นธรรมที่ภิกษุนั้นบรรลุแล้ว อวิชชาถูกทำลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่างเกิดแทนแล้ว, ตามที่มันจะเกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้วแลอยู่.

- ติก. อํ. 20/210/498


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง