[Font : 15 ]
| |
ทรงฝึกสาวกเป็นลำดับๆ |  

อัคคิเวนะ! เมื่อใด05.4 ช้างที่ถูกฝึกรู้จักทำตามคำของคนฝึกในการลุกขึ้นและการทรุดลงแล้ว ต่อจากนั้นผู้ฝึกก็ฝึกให้รู้จักอาการที่เรียนว่า อาเนญชะ (คือไม่หวั่นไหว), เขาผูกโล่ไว้ที่งวง มีผู้ถือหอกซัด นั่งบนคอคนหนึ่ง และหลายคนล้อมรอบๆ คนฝึกถือหอกซัดขนาดยาวยืนหน้าช้างนั้นแหละสอนให้ทำอาการที่เรียกว่า อาเนญชะ, ช้างนั้นมิได้ทำเท้าหน้าให้ไหว มิได้ทำเท้าหลัง, กายตอนหน้า, กายตอนหลัง, ศรีษะ, ใบหู, งา, หาง, งวง ให้ไหวเลยเป็นช้างควรทรงสำหรับพระราชา, ย่อมทนการประการด้วยหอก, ดาบ, ลูกศร,การประหารของข้าศึก, ทนต่อเสียงบันลือลั่นของกลอง บัณเฑาะว์ สังข์และเปิงมางทั้งหลาย, มีความบิดเบือน ดุร้าย เมามัน อันสิ้นแล้ว ควรแก่พระราชา เป็นของใช้สอยของพระราชา เรียกได้ว่าเป็นองค์อวัยวะของพระราชาดังนี้, นี่ฉันใด;

อัคคิเวสนะ! อันนี้ก็ฉันนั้น : ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสอนสัตว์. ตถาคตนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้นท่ามกลาง ที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรม นั้นแล้ว เกิดศรัทธา ใจตถาคต. เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็น ว่า "ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาส (คือที่โปร่งโล่ง) อันยิ่ง; การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไร เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด", ดังนี้.

โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.อัคคิเวสนะ! เพียงเท่านี้ ย่อมชื่อว่า เขาได้ไปถึงที่โล่งโปร่งแล้ว, (ดุจช้างที่นำออกมาจากป่าแล้ว).

อัคคิเวสนะ! ก็เทวดาและมนุษย์ ท. มีเครื่องยั่วยวนคือ กามคุณ 5. ตถาคตจึงแนะนะกุลบุตรผู้บวชแล้วนั้นให้ยิ่งขึ้น ว่า "แน่ะภิกษุ ! ท่านจงมา, ท่านจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยดีในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร เห็นเป็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย จงสมาทานศึกษาในสิขาบททั้งหลาย".

อัคคิเวสนะ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้มีศีล ฯลฯ05.5 แล้ว ตถาคตจึงแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า "แน่ะภิกษุ! ท่านจงมา, ท่านจงเป็นผู้สำรวมทวารในอินทรีย์ ท. ได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว จักไม่ถือเอาโดยนิมิต โดยอนุพยัญชนะบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัส มักไหลไปตาม เพราะการไม่สำรวมจักขุอินทรีย์ใดเป็นเหตุ เราจักปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้ เป็นผู้รักษาสำรวมจักขุอินทรีย์. (ใน หู จมูก ลิ้น กายใจ ก็มีนัยเดียวกัน)".

อัคคิเวสนะ ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้สํารวมทวารในอินทรีย์ ท. ฯลฯ แล้ว, ตถาคตจึงแนะนําให้ยิ่งขึ้นไปว่า "แน่ะภิกษุ! ท่านจงมา, ท่านจงเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ อยู่เสมอ, จักพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉัน ไม่ฉันเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อประดับตกแต่ง แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อปูองกันความลําบาก เพื่อนุเคราะห์พรหมจรรย์, โดยคิดว่า เราจักกําจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสีย แล้วไม่ทําเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนหมดสุข) ให้เกิดขึ้น. ความที่อายุดําเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร ความอยู่ผาสุกสําราญจักมีแก่เรา" ดังนี้.

อัคคิเวสนะ ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ฯลฯ แล้ว, ตถาคต ก็แนะนําให้ยิ่งขึ้นไปว่า "แน่ะภิกษุ ! ท่านจงมา, ท่านจงตาม ประกอบในธรรมเป็นเครื่องตื่น, จักชําระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดินการนั่ง ตลอดวันยังค่ํา จนสิ้นยามแรกแห่งราตรี, ครั้นยามกลางแห่งราตรี นอนอย่างราชสีห์ (คือ) ตะแคงขวา เท้าเหลื่อมเท้า, มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น, ครั้นยามสุดท้ายแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ชําระจิตให้หมดจดจากอาวรณิยธรรมด้วยการจงกรม และการนั่งอีก" ดังนี้.

อัคคิเวสนะ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้ตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องตื่น ฯลฯ แล้ว,ตถาคต ก็แนะนําให้ยิ่งขึ้นไปว่า "แน่ะภิกษุ! ท่านจงมา, ท่านจงเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ, จักรู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฎิ บาตร จีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, การไป การหยุด, การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง" ดังนี้.

อัคคิเวสนะ ! ในกาลใดแล ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสติ สัมปชัญญะ ฯลฯ แล้ว, ตถาคตก็แนะสําให้ยิ่งขึ้นไปว่า "แน่ะภิกษุ ! ท่านจงมา, ท่านจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือปุาละเมาะ โคนไม้ ภูเขาซอกห้วย ท้องถำ้ ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง ลอมฟาง. ในกาลเป็นปัจฉาภัตต์ กลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดํารงสติเฉพาะหน้า, ละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิต จากอภิชฌา; ละพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาทเป็นผู้กรุณามีจิตหวังเกื้อกูลในสัตว์ ท. คอยชําระจิตจากพยาบาท; ละถีนมิทธะมุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถิ่นมิทธะ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัวคอยชําระจิตจากถีนมิทธะ; ละอุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุูงซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายในคอยชําระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจะ; ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า `นี่อะไร, นี่อย่างไร' ในกุศลธรรมทั้งหลาย คอยชําระจิตจากวิจิกิจฉา" ดังนี้.

อัคคิเวสนะ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ 5 อย่าง อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทําป๎ญญาให้ถ้อยกําลังเหล่านี้ได้แล้ว เป็นผู้มีปรกติเห็นกายในกาย, ...เห็นเวทนาในเวทนา ท., ...เห็นจิตใจจิต, ...เห็นธรรมในธรรม ท. มีความเพียรเผาบาป รู้ตัวรอบคอบ มีสติ นําอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกได้; ในกาลนั้นเปรียบเหมือนคนผู้ฝึกช้าง ฝังเสาใหญ่ลงในแผ่นดินแล้ว ผูกช้างปุาเข้าที่คอเพื่อย่ำยีกําจัดเสียซึ่งปรกตินิสัยที่เป็นปุาเถื่อน เพื่อย่ํายีกําจัดเสียซึ่งความคิดครุ่นอย่างนิสัยป่าเถื่อน, และความกระวนกระวายดิ้นรนเร่าร้อน อย่างนิสัยปุาเถื่อนนั้นเสีย; เพื่อให้ยินดีต่อบ้าน ชวนให้คุ้นเคยในปรกตินิสัย อันเป็นที่พอใจของมนุษย์; นี้ฉันใด; อัคคิเวสนะ ! สติปัฎฐานทั้ง 4 นี้ ก็เป็นที่เข้าไปผูกแห่งใจของอริยสาวกเพื่อย่ำยี กำจัดเสียซึ่งปรกตินิสัยอย่างบ้านๆ เรือนๆ เพื่อย่ำยี กำจัดเสียซึ่งความคิดครุ่นอย่างบ้านๆ เรือนๆ และความกระวนกระวายดิ้นรนเร่าร้อนอย่างบ้านๆ เรือนๆ นั้นเสีย; เพื่อให้ถึงทับญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ฉันนั้นเหมือนกัน.

(ต่อจากนี้ทรงกล่าวถึงการที่สาวกนั้น จะต้องไม่มีวิตกที่เข้าไปผูกพันกับ กาย เวทนาจิตธรรม แล้วบรรลุฌานทั้ง 4 และวิชชา 3 อย่าง ยืดยาวโดยนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องการตรัสรู้ของพระองค์เอง จงดูในที่นั้น จักได้กล่าวเนื้อความอื่นที่สืบต่อจากนั้นไป).

...ฯลฯ... ภิกษุนั้น รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์จบแล้ว กิจควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่ต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก.

อัคคิเวสนะ! ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้อดทนต่อความเย็น ความร้อนความหิว ความระหาย และสัมผัสอันเกิดจากเหลือบยุง ลมแดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย เป็นผู้มีชาติแห่งบุคคลผู้อดกลั้นได้ต่อถ้อยคำที่กล่าวร้าย กล่าวมาไม่ดี, อดทนได้ต่อทุกขเวทนาทางกายอันเกิดขึ้นแล้วอย่างกล้าแข็งแสบเผ็ด หมดความสำราญเบิกบานใจ ปลิดเสียได้ซึ่งชีวิต. ภิกษุนั้นเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะอันกำจัดเสียสิ้นแล้ว มีกิเลสอันย้อมใจดุจน้ำฝาด อันตนสำรอกออกเสียได้แล้ว, เป็นอาหุเนยยบุคคล เป็นปาหุเนยยบุคคล เป็นทักขิเฌยยบุคคล เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นใดยิ่งไปกว่า.

อัคคิเวสนะ! ถ้าภิกษุผู้เถระ หรือภิกษุปูนกลาง หรือภิกษุใหม่ที่ยังไม่เป็นขีณาสพ ทำกาละลงไป, ก็ย่อมถึงซึ่งการนับว่าตายแล้ว ทำกาละแล้วทั้งที่ยังฝึกไม่เสร็จ ดุจดั่งช้างแก่ หรือปูนกลาง หรือหนุ่ม ของพระราชาที่ยังฝึกไม่ได้ตายลง ก็ถึงซึ่งการนับว่า ตายแล้ว ทั้งที่ยังฝึกไม่เสร็จ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อัคคิเวสนะ! ถ้าภิกษุผู้เถระ หรือภิกษุปูนกลาง หรือภิกษุใหม่ก็ตามเป็นขีณาสพแล้ว ทำกาละลงไป, ก็ย่อมถึงซึ่งการนับว่าตายแล้ว ทำกาละแล้วอย่างเสร็จสิ้นการฝึกแล้ว ดุจดั่งช้างแก่ หรือปูนกลาง หรือหนุ่มก็ตาม ของพระราชา ที่เขาฝึกดีแล้ว ตายลง ก็ถึงซึ่งการนับว่า ตายไปอย่างได้รับการฝึกสำเร็จแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

- บาลี ทันตภูมิสูตร อุปริ. ม. 14/266/395. ตรัสแก่สามเณร อจีรวตะ ผู้อัคคิเวสนโคตร, ที่สวนไผ่ ใกล้กรุงราชคฤห์.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง