[Font : 15 ]
| |
การออกไปเสีย จากทางเดินแห่งจิตของสัตว์ปุถุชน |  

(ทางเดินแห่งจิตของสัตว์ มีอยู่ 36 อย่าง มีอยู่ที่หัวข้อว่า "เวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์" ในภาค 1 ที่ว่าด้วยทุกขอริยสัจ หน้า 186 แห่งหนังสือเล่มนี้. ข้อความต่อไปนี้ แสดงการออกมาเสียได้จากทางเดินแห่งจิตของสัตว์เหล่านั้น โดยอาศัยธรรมที่เป็นคู่ปรับแก่กันเป็นคู่ ๆ ละฝ่ายที่ควรละเสีย จนกระทั่งออกมาเสียได้จากทางแห่งทุกข์ถึงที่สุดโดยประการทั้งปวง ดังต่อไปนี้ :-)

ภิกษุ ท.! คำที่เรากล่าวว่า "จงอาศัยทางนี้ แล้วละทางนี้เสีย" ดังนี้นั้น, เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์อะไรเล่า ? ภิกษุุ ท.! ข้อนั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์ คือ :-

ภิกษุ ท.! ในบรรดาทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ทั้ง 36 นั้น โสมนัสอาศัยการหลีกออกจากเรือน (เนกขัมมสิตโสมนัส) 6 อย่างมีอยู่ เธอจงอาศัยแล้ว ๆ ซึ่งโสมนัสอาศัยการหลีกออกจากเรือนนั้น ละเสียก้าวล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเรือน 6 อย่าง. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งโสมนัสอาศัยเรือน 6 อย่างเหล่านั้น ย่อมมีด้วยอาการเหล่านี้.

ภิกษุ ท.! ในบรรดาทางไป (แห่งจิต ) ของสัตว์ทั้ง 36 นั้น โทมนัสอาศัยการหลีกออกจากเรือน (เนกขัมมสิตโทมนัส) 6 อย่างมีอยู่ เธอจง อาศัยแล้ว ๆ ซึ่งโทมนัสอาศัยการหลีกออกจากเรือนนั้น ละเสียก้าวล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเรือน 6 อย่าง. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งโทมนัสอาศัยเรือน 6 อย่างเหล่านั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท.! ในบรรดาทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ทั้ง 36 นั้น อุเบกขาอาศัยการหลีกออกจากเรือน (เนกขัมมสิตอุเบกขา) 6 อย่างมีอยู่ เธอจงอาศัยแล้ว ๆ ซึ่งอุเบกขาอาศัยการหลีกออกจากเรือนนั้น ละเสียก้าวล่วงเสีย ซึ่งอุเบกขาอาศัยเรือน 6 อย่าง. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งอุเบกขาอาศัยเรือน 6 อย่างเหล่านั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท.! ในบรรดาทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ทั้ง 36 นั้น

โสมนัสอาศัยการหลีกออกจากเรือน (เนกขัมมสิตโสมนัส) 6 อย่างมีอยู่ เธอจงอาศัยแล้ว ๆ ซึ่งโสมนัสอาศัยการหลีกออกจากเรือนนั้น ละเสียก้าวล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยการหลีกออกจากเรือน 6 อย่าง. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งโทมนัสอาศัยการหลีกออกจากเรือน 6 อย่างเหล่านั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท.! ในบรรดาทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ทั้ง 36 นั้น อุเบกขาอาศัยการหลีกออกจากเรือน (เนกขัมมสิตอุเบกขา) 6 อย่างมีอยู่ เธอจงอาศัยแล้ว ๆ ซึ่งอุเบกขาอาศัยการหลีกออกจากเรือนนั้น ละเสียก้าวล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยการหลีกออกจากเรือน 6 อย่าง. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งโสมนัสอาศัยการหลีกออกจากเรือน 6 อย่างเหล่านั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท.! อุเบกขามีภาวะต่าง ๆ (นานัตตอุเบกขา) อาศัยภาวะต่าง ๆ ก็มีอยู่. อุเบกขามีภาวะอย่างเดียว (เอกัตตอุเบกขา) อาศัยภาวะอย่างเดียว ก็มีอยู่.

ภิกษุ ท.! อุเบกขามีภาวะต่างๆ อาศัยภาวะต่าง ๆ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุุ ท.! อุุเบกขาในรูป ท. มีอยู่, อุุเบกขาในเสียง ท. มีอยู่, อุเบกขาในกลิ่น ท. มีอยู่, อุเบกขาในรส ท. มีอยู่, อุเบกขาในโผฏฐัพพะ ท. มีอยู่. ภิกษุ ท.! นี้คือ อุเบกขามีภาวะต่างๆ อาศัยภาวะต่าง ๆ.

ภิกษุ ท.! อุเบกขามีภาวะอย่างเดียว อาศัยภาวะอย่างเดียว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! อุเบกขาอาศัยอาการสานัญจายตนะมีอยู่, อุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนะมีอยู่, อุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนะมีอยู่, อุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะมีอยู่. ภิกษุ ท.! นี้คือ อุเบกขามีภาวะอย่างเดียว อาศัยภาวะอย่างเดียว.

ภิกษุ ท.! ในบรรดาอุเบกขาเหล่านั้น เธอจง อาศัยแล้ว ๆ ซึ่งอุเบกขามีภาวะอย่างเดียว อาศัยภาวะอย่างเดียว ละเสียก้าวล่วงเสียซึ่งอุเบกขามีภาวะต่าง ๆ อาศัยภาวะต่าง ๆ นั้น. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งอุเบกขามีภาวะต่าง ๆ อาศัยภาวะต่าง ๆ นั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท.! เธอจง อาศัยแล้ว ๆ ซึ่งอตัมมยตา12.6 ละเสียก้าวล่วงเสียซึ่งอุเบกขามีภาวะอย่างเดียว อาศัยภาวะอย่างเดียวนั้น. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งอุเบกขามีภาวะอย่างเดียว อาศัยภาวะอย่างเดียวกัน ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท.! คำใดที่เรากล่าวว่า "จงอาศัยทางนี้ แล้วละทางนี้เสีย" ดังนี้นั้น, คำนั้นเรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์อย่างนี้แล.

- อุปริ. ม. 14/406/631-632.

(นี้แสดงว่า การอาศัยทางอย่างหนึ่งละทางอย่างหนึ่งเสียนั้น เป็นนิโรธอย่างหนึ่ง ๆ ซึ่งควรจะมองให้เห็นว่าเป็นนิโรธ 7 ขั้นตอน ดังนี้คือ :-

อาศัย เนกขัมมสิตโสมนัส ละเคหสิตโสมนัส คู่หนึ่ง ; อาศัย เนกขัมมสิตโสมนัส ละเนกขัมมสิตโทมนัส คู่หนึ่ง ; อาศัย เนกขัมมสิตโทมนัส ละเคหสิตโทมนัส คู่หนึ่ง ; อาศัย เนกขัมมสิตอุเบกขา ละเคหสิตอุเบกขา คู่หนึ่ง ; อาศัย เนกขัมมสิตอุเบกขา ละเนกขัมมสิตโสมนัส คู่หนึ่ง ; อาศัย เอกัตตอุเบกขา ละนานัตตอุเบกขา คู่หนึ่ง ; อาศัย อตัมมยตา ละเอกัตตอุเบกขา (คู่หนึ่ง).


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง