[Font : 15 ]
| |
1. ทุกขอริยสัจ |  

ภิกษุ ท.! ก็ อริยสัจคือทุกข์ นั้นเปนอยางไรเลา ? ความเกิดก็เปนทุกข, ความแกก็เปนทุกข, ความตายก็เปนทุกข, ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกขกาย ความทุกขใจ ความคับแคนใจ ก็เปนทุกข, ความระคนดวยสิ่งไมเปนที่รัก ก็เปนทุกข, ความพลัดพรากจากสิ่งเปนที่รัก ก็เปนทุกข, ความที่ตนปรารถนาแลวไมไดสิ่งนั้นสมหวัง ก็เปนทุกข, กลาวโดยยอ ขันธอันเปนที่ตั้งแหงความยึดถือทั้ง 5 เปนทุกข.

ภิกษุ ท.! ความเกิด เปนอยางไรเลา ? ภิกษุ ท.! การเกิดการกําเนิด การกาวลง (สูครรภ) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ภาวะแหงความปรากฏของขันธทั้งหลาย การที่สัตวไดอายตนะทั้งหลาย ในจําพวกสัตวนั้น ๆ ของสัตวนั้น ๆ นี้เราเรียกวาความเกิด

ภิกษุ ท.! ความแก เปนอยางไรเลา ? ภิกษุ ท.! ความแกความคร่ำครา ความมีฟนหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไป ๆ แหงอายุ ความแกรอบแหงอินทรียทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตวเหลานั้น ๆ, นี้เราเรียกวาความแก.

ภิกษุ ท.! ความตาย เปนอยางไรเลา ? ภิกษุ ท.! การจุติความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทํากาละการแตกแหงขันธ ท. การทอดทิ้งราง การขาดแหงอินทรียคือชีวิต จากจําพวกสัตวนั้น ๆ ของสัตวเหลานั้น ๆ, นี้เราเรียกวาความตาย.

ภิกษุ ท.! ความโศก เปนอยางไรเลา ? ภิกษุ ท.! ความโศกการโศก ภาวะแหงการโศก ความโศกในภายใน ความโศกทั่วในภายใน ของบุคคลผูประกอบแลวดวยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง หรือของบุคคลผูอันความทุกขอยางใดอยางหนึ่งกระทบแลว, นี้เราเรียกวาความโศก

ภิกษุ ท.! ความร่ำไรรําพัน เปนอยางไรเลา ? ภิกษุ ท.! ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรําพัน การคร่ำครวญ การร่ำไรรําพัน ภาวะแหงผูคร่ำครวญภาวะแหงผูร่ำไรรําพัน ของบุคคลผูประกอบแล้วด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่งหรือของบุคคลผูอันความทุกขอยางใดอยางหนึ่งกระทบแลว. นี้เราเรียกวาความร่ำไรรําพัน.

ภิกษุ ท.! ความทุกขกาย เปนอยาไรเลา ? ภิกษุ ท.! การทนยากที่เปนไปทางใจ การไมดี (คือไมสบายเปนปรกติ) ที่เปนไปทางกายการทนยากที่เกิดแตความกระทบทางกาย ความรูสึกที่ไมดีอันเกิดแตความกระทบทางกายใด ๆ, นี้เราเรียกวาความทุกขกาย.

ภิกษุ ท.! ความทุกขใจ เปนอยางไรเลา ? ภิกษุ ท.! การทนยากที่เปนไปทางใจ การไมดี (คือไมสบายเปนปรกติ) ที่เปนไปทางใจ การทนยากที่เกิดแตความกระทบทางใจ ความรูสึกที่ไมดีอันเกิดแตความกระทบทางใจใด ๆ, นี้เราเรียกวาความทุกขใจ.

ภิกษุ ท.! ความคับแคนใจ เปนอยางไรเลา ? ภิกษุ ท.! ความกลุมใจ ความคับแคนใจ ภาวะแหงผูกลุมใจ ภาวะแหงผูคับแคนใจ ของบุคคลผูประกอบแลวดวยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง หรือของบุคคลผูอันทุกขอยางใดอยางหนึ่งกระทบแลว, นี้เราเรียกวาความคับแคนใจ.

ภิกษุ ท.! ความระคนดวยสิ่งไมเปนที่รักเปนทุกข เปนอยางไรเลา ? ภิกษุ ท.! ในโลกนี้ อารมณคือรูป เสียง รส โผฏฐัพพะเหลานั้น อันเปนที่ไมนาปรารถนารักใครพอใจ แกผูใด หรือวาชนเหล่าใดเปนผูไมหวังประโยชน ไมหวังความเกื้อกูล ไมหวังความผาสุก ไมหวังความเกษมจากเครื่องผูกรัด ตอเขา. การที่ไปดวยกัน การมาดวยกัน การหยุดอยูรวมกัน ความปะปนกันกับดวยอารมณ หรือบุคคลเหลานั้น, นี้เราเรียกวา ความระคนดวยสิ่งไมเปนที่รักเปนทุกข.

ภิกษุ ท.! ความพลัดพรากจากสิ่งเปนที่รักเปนทุกข เปนอยางไรเลา ? ภิกษุ ท.! ในโลกนี้ อารมณคือรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะเหลานั้น อันเปนที่นาปรารถนารักใครพอใจ ของผูใด หรือวาชนเหลาใดเปนผูหวังประโยชนหวังความเกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัดตอเขาคือมารดาบิดา พี่นองชาย พี่นองหญิง มิตร อมาตย ญาติสาโลหิตก็ตาม, การที่ไมไดไปรวม การที่ไมไดมารวม การไมไดหยุดอยูรวม ไมไดปะปนกับดวยอารมณหรือบุคคลเหลานั้น, นี้เราเรียกวา ความพลัดพรากจากสิ่งเปนที่รักเปนทุกข.

ภิกษุ ท.! ความที่สัตวปรารถนาแลวไมไดสิ่งนั้นสมหวังเปนทุกข เปนอยางไรเลา ? ภิกษุ ท.! ความปรารถนาเกิดขึ้นแกสัตวผูมีความเกิดเปนธรรมดา อยางนี้วา "โอหนอ ! ขอเรา ท. ไมพึงเปนผูมีความเกิดเปนธรรมดาและความเกิดไมพึงมาถึงเรา ท. หนอ." ก็ขอนี้ไมใชสัตวจะบรรลุไดดวยความปรารถนา. แมนี้ก็ชื่อวา ปรารถนาสิ่งใดแลวไมไดสิ่งนั้นเปนทุกข. ภิกษุ ท.!ความปรารถนาเกิดขึ้นแกสัตวผูมีความแกเปนธรรมดา อยางนี้วา "โอหนอ ! ขอเรา ท.ไมถึงเปนผูมีความแกเปนธรรมดา และความแกไมพึงมาถึงเรา ท. หนอ." ก็ขอนี้ไมใชสัตวจะบรรลุไดดวยความปรารถนา. แมนี้ก็ชื่อวาปรารถนาสิ่งใดแลวไมไดสิ่งนั้น เปนทุกข. ภิกษุ ท.! ความปรารถนาเกิดขึ้นแกหมู่สัตวผูมีความเจ็บปวยเปนธรรมดา….มีความตายเปนธรรมดา….มีความโศกความร่ำไรรําพัน ความทุกขกาย ความทุกขใจ ความคับแคนใจ เปนธรรมดา…. (ความทํานองเดียวกันกับขางตน)….ก็ขอนี้ไมใชสัตวจะบรรลุไดดวยความปรารถนา.แมนี้ก็ชื่อวา ปรารถนาสิ่งใดแลวไมไดสิ่งนั้น เปนทุกข.

ภิกษุ ท.! กลาวโดยยอ ขันธอันเปนที่ตั้งแหงความยึดถือทั้ง 5 เปนทุกข เปนอยางไรเลา ? นี้คือ ขันธเปนที่ตั้งแหงความยึดถือไดแกรูป, ขันธเปนที่ตั้งแหงความยึดถือไดแกเวทนา, ขันธเปนที่ตั้งแหงความยึดถือไดแกสัญญา, ขันธเปนที่ตั้งแห่งความยึดถือไดแกสังขาร, ขันธเปนที่ตั้งแหงความยึดถือไดแกวิญญาณ. ภิกษุ ท.! เหลานี้ เราเรียกวา กลาวโดยยอขันธเปนที่ตั้งแหงความยึดถือเปนทุกข.

ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกวาอริยสัจ คือ ทุกข.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง