[Font : 15 ]
| |
ผู้ไม่ประมาทในความตายแท้จริง |  

ภิกษุ ท.! มรณะสติ (ความระลึกถึงความตาย) อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยังลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่สุด. พวกเธอเจริญมรณะสติอยู่บ้างหรือ?

เมื่อรับสั่งดังนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งทูลขึ้นว่า "แม้ข้าพระองค์ก็เจริยมรณะสติอยู่ พระเจ้าข้า".

พ. "เธอเจริญมรณสติอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.!"

ภิ. "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความรำนึงอย่างนี้ว่า "โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงวันหนึ่งคืนหนึ่ง. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ" ดังนี้. ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล พระเจ้าข้า".

อีกรูปหนึ่งทูลว่า "ถึงข้าพระองค์ ก็เจริญมรณสติอยู่ พระเจ้าข้า".

พ. "เธอเจริญมรณสติอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.!

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคำนึงอย่างนี้ว่า "โอหนอ เราอาจจะมีวิตอยู่ได้เพียงชั่วเวลากลางวัน. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีประภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ" ดังนี้ ข้าพระองค์เจริญมรสติอย่างนี้แล พระเจ้าข้า".

อีกรูปหนึ่งทูลว่า "ถึงข้าพระองค์ ก็เจริญมรณสติอยู่ พระเจ้าข้า".

พ. เธอเจริญมรณสติอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.!

ภิ. "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความรำตึงอย่างนี้ว่า "โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่ฉันบิณฑาตเสร็จมื้อหนึ่ง. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ" ดังนี้. ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล พระเจ้าข้า".

อีกรูปหนึ่งทูลว่า "ถึงข้าพระองค์ ก็เจริญมรณสติอยู่ พระเจ้าข้า".

พ. "เธอเจริญมรณสติอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.!

ภิ. "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความรำนึงอย่างนี้ว่า "โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่ฉันอาหารเสร็จเพียง 4 - 5 คำ เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระ ผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ" ดังนี้ ข้าพระองค์เจริญมรณสติแม้อย่างนี้แล พระเจ้าข้า".

อีกรูปหนึ่งทูลว่า "ถึงข้าพระองค์ ก็เจริญมรณสติอยู่ พระเจ้าข้า".

พ. "เธอเจริญมรณสติอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.!"

ภิ. "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคำนึงอย่างนี้ว่า "โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่ฉันอาหารเสร็จเพียงคำเดียว. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ" ดังนี้. ข้าพระองค์เจริญมรณสติแม้อย่างนี้แล พระเจ้าข้า".

อีกรูปหนึ่งทูลว่า "ถึงข้าพระองค์ ก็เจริญมรณสติอยู่ พระเจ้าข้า".

พ. "เธอเจริญมรณสติอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.!

ภิ. "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคำนึงอย่างนี้ว่า "โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่หายใตเข้าแล้วหายใจออก หรือชั่วหายใจออกแล้วหายใจเข้า. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ" ดังนี้. ข้าพระองค์เจริญมรณสติแม้อย่างนี้แล พระเจ้าข้า".

เมื่อสิ้นคำทูลทั้งหมดแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า :-

ภิกษุ ท.! ภิกษุพวกที่เจริญมรณะสติอย่างนี้ว่า "โอหนอ เราจจะมีชีวิตอยู่ได้ เพียงวันหนึ่งคืนหนึ่ง---ดังนี้ก็ดี. เราจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วเวลากลางวัน---ดังนี้ก็ดี, เราจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่ฉันบิณฑบาตเสร็จมื่อหนึ่ง---ดังนี้ก็ดี, เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่ฉันอาหารเสร็จเพียง 4 - 5 คำ. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ" ดังนี้ก็ดี' ภิกษุเหล่านี้ เราเรียกว่า ยังเป็นผู้ประมาทอยู่ ยังเจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะช้าไป.

ภิกษุ ท.! ภิกษุพวกที่เจริญมรณะสติอย่างนี้ว่า "โอหนอ เราจจะมีชีวิตอยู่ได้ เพียงชั่วขณะฉันอาหารเสร็จเพียงคำเดียว---" ดังนี้ก็ดี, ว่า "โอหนอ เราจจะมีชีวิตอยู่ได้ เพียงชั่วขณะที่หายใจเข้าแล้วหายใจออก หรือชั่วหายใจออกแล้วหายใจเข้า. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ" ดังนี้ก็ดี' ภิกษุเหล่านี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ยังเจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะอย่างแท้จริง.

ภิกษุ ท.! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า "เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ประมาทเป็นอยู่, จักเจริญมรณสติ เพื่อความสิ้นอาสวะอย่างแท้จริง" ดังนี้. ภิกษุ ท.! เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล

- บาลี พระพุทธภาษิต อฏฺฐก. อํ. 23/327/170, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่หมู่บ้านนาทิกะ.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |     |   แจ้งข้อผิดพลาด / แนะนำ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง